แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ เรืองรักษ์
  • เดชรัต สุขกำเนิด
  • ใมตรี อินเตรียะ

คำสำคัญ:

แนวทาง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประโยชน์และข้อจำกัดในการดำเนินงานของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท (2) เพื่อออกแบบแนวทางการดำเนินงาน การให้บริการที่ดีขึ้นในอนาคตและหาแนวทางการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง 50 คน

                ผลการวิจัย มีดังนี้ จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลลัทธ์ที่ได้มาจากการปฯระเมินคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นผลมาจากการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม จำนวน 50 คนและผลจากความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆที่คอยให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง  สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทมีดังนี้  ความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะกรรมการ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้จากการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่ต้องแจ้งในที่ประชุมด้วยทุกครั้ง การตรวจสอบบัญชีเงินฝากของธนาคาร ความมั่นคงในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นไปตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับของกลุ่ม การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมประจำเดือน การทำบุญในวันสำคัญต่างๆ การมอบสวัสดิการในงานศพที่มีคนเยอะๆเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทให้มากยิ่งขึ้น การช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มฯอย่างเต็มที่ เต็มใจและเต็มความสามารถเพื่อที่จะให้กลุ่มฯและสมาชิกอยู่ต่อได้อีกนาน

                ข้อเสนอแนะจากการวิจัยแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท สามารถทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น พัฒนาสมาชิกให้เป็นแกนนำได้ การได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไปโดยผลมาจากการประเมินคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดีและผลตอบรับที่ได้จากการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ดำเนินงานต่อไปได้และไม่ล่มเหมือนกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทของตำบลอื่น ๆ

 

References

ชินรัตน์ สมสืบ. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชน.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา.กรุงเทพฯ.ศักดิ์โสภา การพิมพ์.

นเรศ สงเคราะห์สุข. (2551). กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม.กรุงเทพฯ.โอเดียนสโตร

นฤมล วิบูลย์ศิริชัย. (2557). การวิจัยและการพัฒนาสร้างแผนพัฒนาสตรีโดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีเทศบาลตำบลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุญชัย งามวิทย์โรจน์. (2551). รายงานการศึกษาโครงการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรนาและป่าต้นน้ำ กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำมูล.

ประยูร ศรีประสาธน์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา.นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2547). สวัสดิการชุมชน แก้จนอย่างยั่งยืน.กรุงเพทฯ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.(องค์กรมหาชน).

มาโนช มาละการ. (2551). กระบวนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน.การสังเคราะห์งานวิจัยและการวิเคราะห์ สาขาวิชาพัฒนศึกษา (วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒกานต์ ลาภสาร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน.ค้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ.2562.จาก http:/msjo.net/categoryblog.66-patjai.pdf.

สุคนธ์ จตุชัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลสำเร็จในการบริหารงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต.บพิชการพิมพ์ กองพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม กรมการพัฒนาชุมชน.

เสถียร บาทชารี. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต.ศูนย์ช่วยเหลือทางวิขาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4 อุดรธานี.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น.กรุงเทพฯ.จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์

เกษริน สุจินต์ (2562,30 กรกฎาคม). สัมภาษณ์ .คณะกรรมการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดโพธิ์ทอง.

จักรวาล สุขไมตรี. (2559). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4ขององค์การบริหารจัดการตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.นครปฐม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย.

ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์. (2555). การก่อรูปองค์กรประชาสังคมท้องถิ่นจังหวัดตราด.กรุงเทพฯ.สถาบันพระปกเกล้า.

พระชัยวัฒน์ อคคธมโม. (2555). บทบาทผู้นำในการส่งเสริมงานสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดโขมง ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ธนาชัย สุขวนิช. (2555). การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลางของประแทศไทย.

พระสุบิน ปณีโต. (2554). สัจจะออมทรัพย์.ออมทุนสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร.สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

วชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพ:ฯ

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภา.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2551). การบริหารสังคม ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2553). คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน: คู่มือการจัดการสร้างความปรองดองในระบบบริการสาธารณสุข. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. (วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย

ลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย

การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

พิตรพิบูล ไชยเมืองและคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการ บริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 44-52.

ไพฑูรย์ นิยมนา และคณะ. (2552). ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการ สังคมระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอราสีไศล จังหวัดหวัดศรีสะเกษ (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มาโนช มาละการ. (2551). กระบวนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน: การสังเคราะห์งานวิจัยและการ วิเคราะห์ เนื้อหา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยูสนานี สาเล็ง. (2554). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน: กรณีศึกษา กองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิตชุมชนเมาะสือแม อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุ่งศิริ นุชสุวรรณ. (2553). ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนวันละ 1 บาท ชุมชนวัด เชิงหวาย เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภาภรณ์ กล่ำสกุลและคณะ. (2561). รูปแบบการส่งเสริมการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล สมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการและวิจัยแห่งชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(น. 557-563). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี .

อรทัย แสงทอง. (2558). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนใน เขตจังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 221-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31