การส่งเสริมคุณค่าวิถีเกษตรกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมคุณค่าวิถีเกษตร, การท่องเที่ยวชุมชนตำบลสาวชะโงก, จังหวัดฉะเชิงเทราบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งสามารถนำมาสร้างโอกาสให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) ค้นหาแนวทางส่งเสริมการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาสร้างโอกาสเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้นำชุมชน ชุมชน และกลุ่มผู้ผลิต ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในชุมชนตำบลสาวชะโงก ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงกซึ่งมีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีสามน้ำ ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรที่เพาะปลูกในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก เช่น มะม่วง มะพร้าว หมาก ผักขึ้นฉ่าย และหัวไชเท้า เป็นต้น มีชื่อเสียงในเรื่องรสชาติและความอร่อย ขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลสาวชะโชกมีเชื้อสายจีน และมีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพปลูกผลไม้และพืชเศรษฐกิจผสมผสาน โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างระหว่างร่องสวน นอกจากนี้พื้นที่ตำบลสาวชะโงกยังมีสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและความเชื่อท้องถิ่น ได้แก่ รูปหล่อหลวงพ่อเหลือ โรงเจปั้นกิ๊มยืออี๊ตั่ว และแหล่งเรียนรู้ศิลปะมวยไทย ได้แก่ ค่ายมวย ป. ประมุข เป็นต้น จากความหลากหลายของทรัพยากรด้านการเกษตร การมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นด้านวัฒนธรรม และความเชื่อท้องถิ่นดังกล่าว ส่งผลให้พื้นที่ตำบลสาวชะโงกเอื้อต่อการนำมาสร้างโอกาสเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อสร้างแหล่งจูงใจและทางเลือกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ และขณะเดียวกันเกษตรกรในพื้นที่ยังมีโอกาสจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรอื่นๆ จากแหล่งผลิตโดยตรง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรและส่งผลให้อาชีพเกษตรกรรมของชุมชนเกิดความยั่งยืนสืบไป
References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร.
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2545). โครงการท่องเที่ยวเกษตร ปีท่องเที่ยวไทย 2545 – 2546.
กมลวัณย์ โมราศิลป์ และวิสุทธิณี ธานีรัตน. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ฉบับที่ 2.
เทพกร ณ สงขลาและบัญชา สมบูรณ์สุข. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับการจัดการทรัพยากรเกษตรของท้องถิ่น : กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิออน ศรีสมยง. (2547). ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. โครงการสานสัมพันธ์ เครือข่ายชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด. กรุงเทพฯ.
แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี. (พ.ศ. 2561-2564).องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก. อำเภอบางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future Touris management. 21(1), 97-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.