รูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
รูปแบบกิจกรรม, กิจกรรมนันทนาการ, การเสริมสร้างความสุข, นักเรียนโรงเรียนสาธิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่องรูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน และ 3) ทดลองใช้ ประเมิน ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียน เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม รวม 291 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนสาธิต 21 คน และ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนสาธิต 9 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และจัดสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนในโรงเรียนสาธิต มีกิจกรรมนันทนาการที่หลากหลาย
(2) รูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นคือ Dokkaew Moodel (ดอกแก้วโมเดล) มี 7 องค์ประกอบคือ 1) D: Demonstration Demand 2) O: Objective 3) K: Knowledge 4) K: Keen 5) A: Activity 6) E: Enjoyment และ 7) W: Wise โดยผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า รูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความสุขของนักเรียนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ
(3) ผลการทดลองใช้ ประเมิน ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น พบว่า หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนักเรียนมีความสุขอยู่ระดับในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ รู้สึกว่ากิจกรรมช่วยลดความเครียด กิจกรรมช่วยให้เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และกิจกรรมทำให้เกิดประสบการณ์ในชีวิต
References
กนกวรรณ วังมณี. (2554). การพัฒนาความสุขของวัยรุ่นไทย โดยใช้โปรแกรมพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมพลศึกษา. (2555). นันทนาการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เกรียงไกร ยาม่วง. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมนันทนาการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดชัยภูมิ. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
เก่งกาจ เกลี้ยงแก้ว. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง
ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณิต เขียววิชัย. (2554). การจัดการค่ายพักแรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง
สนามจันทร์.
ปฐมพร บำเรอ สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์ และ อนันต์ มาลารัตน์. (2565). ผลของรูปแบบกิจกรรมนันทนาการประเภทการเต้นรำที่ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8) 131-147.
ประเวศ วะสี. (2544). การพัฒนาพลังสร้างสรรค์ขององค์กร. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พนมศักดิ์ สวัสดิ์พงษ์. (2544). นันทนาการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตจากรอยพยุคลบาท. วารสารพลศึกษา,
(1) 22.
พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา). (2565). ข้อมูลโรงเรียน. สืบค้นจาก
http://www.satit.su.ac.th เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565.
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา.
(2565) ). ข้อมูลโรงเรียน. สืบค้นจาก http://www.kus.ku.ac.th เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2565). ข้อมูลโรงเรียน. สืบค้นจาก
http://www.st.npru.ac.th เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2544). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
--------. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อโนทัย ธีระทีป. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. สาขา
การวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Best, J. (1981). Research in education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.Cohen, L., Manion,
L. & Morrison, K. (2000). Research methods in education. (5th ed.). London: Routledge
Falmer.
Cohen, L., Manion, L. & Morrison, K. (2000). Research methods in education. (5th ed.).
London: Routledge Falmer.
Cronbach, L. (1974). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Krejcie R. V. and Morgan. D. W.(1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Education and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.