รูปแบบนวัตกรรมการจัดการขยะแบบยั่งยืนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, นวัตกรรม, การจัดการขยะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมด้านการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix-method Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการขยะควรดำเนินการควบคู่กันไปทั้งเรื่องการสร้างจิตสำนึกไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง การสร้างนโยบายสาธารณะที่จะทำให้ชุมชนมีมาตรการของตนเองในการดูแลและก่อให้เกิดผู้นำโดยธรรมชาติของชุมชนจนทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มย่อยและขยายเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ปัญหาที่พบ 1) ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทั้งที่เป็นขยะในพื้นที่และต่างพื้นที่ 2) สถานที่ พื้นที่ในการจัดการขยะหรือทิ้งขยะไม่เพียงพอ
3) การสร้างความร่วมมือในชุมชน ชุมชนยังไม่มีระบบการจัดการขยะชุมชนหรือบางชุมชนมีระบบการจัดการขยะชุมชนแต่ยังไม่ได้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 4) การปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชน นำขยะมาทำเป็นนวัตกรรม และ 5) การจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอต่อการจัดระบบการจัดเก็บขยะภายในชุมชน - นวัตกรรมด้านการจัดการขยะ ได้จัดกิจกรรมธนาคารขยะ โรงเรือนคัดแยกขยะชุมชน กิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิล ได้เรียนรู้จากการดูงานที่จังหวัดระยอง และการต่อยอดโครงการโดยการเลี้ยงไส้เดือน
- รูปแบบนวัตกรรมการจัดการขยะ ประกอบด้วย 1. การปลูกฝังทัศนคติ 2. การบริหารจัดการเส้นทางการจัดเก็บขยะ 3. การให้ความร่วมมือ 4. งบประมาณ และ 5. นโยบาย
References
กรมควบคุมมลพิษ โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 13 (ชลบุรี). (2559). รายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการ ของผู้ตรวจราชการ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.
ควรคนึง สีหาวงษ์. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จำลอง โพธิ์บุญ. (2551). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการขยะที่ดีกรณีศึกษาเทศบาลตำบล
เทพกระษัตรี จังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 4(1), 27-65.
ปาริชาติ วลัยเสถียร.(2549). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). ภาษา: thai. พิมพลักษณ์:กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิโกมลคีมทอง}2541
ครั้งที่พิมพ์:พิมพ์ครั้งที่ 5.
พรียุตม์ วรรณพฤกษ์. (2554). การปรับปรุงนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ยุพดี เสตพรรณ. (2544). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : พิสิษฐ์การพิมพ์. วจีน แสงสว่าง.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2541).“การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน”.วารสารพัฒนาชุมชน, 36(4), 32-34.
สุธีลา ตุลยะเสถียร, โกศล วงศ์สวรรค์ และสถิต วงศ์สวรรค์. (2544). มลพิษสิ่งแวดล้อม (ปัญหาสังคมไทย). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยี.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Holloway V. William, State and Local Government in the United States. (New York
: The McGraw-Hill,1959) p.101-103
Wit A Daniel, Comparative Survery of Local Govt and Administration, (Bangkok: Kurusapha Press, 1967), pp.101-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.