ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์วัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชัย วัฒนศักดิ์ศิริ
  • รัชฎา ฟองธนกิจ
  • กฤษณา ฟองธนกิจ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์, วัดจีนนิกาย, ยุควิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ที่มีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ อุบาสก-อุบาสิกาของวัดจีนนิกาย 305 ท่านจากวัดจีนนิกายในในประเทศไทยจำนวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้ค่าสถิติ คือ 1) ค่าสถิติไคสแคว์ 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ 3) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสมบูรณ์ 4) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนในรูปความคลาดเคลื่อน 5) largest standardized residual และ6) Q-plot

ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ดังนี้ (1.1) ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาพลักษณ์ และความไว้วางใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน รองลงมา ได้แก่ ความจงรักภักดี ตามลำดับ (1.2) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การตื่นตัวต่อความรู้ใหม่ และความเชื่อมั่นในตัวเอง (1.3) การบริหารจัดการองค์กร โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนาบุคลากร  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ งบประมาณ และเทคโนโลยี ตามลำดับ (1.4) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความครบถ้วน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่  ความถูกต้องและตรงกลุ่มเป้าหมาย ตามลำดับ (1.5) การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  สื่อออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สื่อออฟไลน์ และเครือข่ายตามลำดับ

 

2) ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ที่มีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่ ดังนี้ (2.1) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) การบริหารจัดการองค์กร (MANA) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) และ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (UPRM) มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย (PREF) (2.2) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) การบริหารจัดการองค์กร (MANA) และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) มีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (UPRM) (2.3) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) และการบริหารจัดการองค์กร (MANA) มีอิทธิพลทางตรงต่อกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) (2.4) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการองค์กร (MANA)

References

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดฯ, 8(2), 55-69.

ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ และยุภาพร ยุภาศ. (2562). ภาวะผู้นําและทักษะในการบริหารงานในองค์การ

วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(2), 667- 680.

ธเนศ ยุคันตวนิชชัย. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเศรษฐกิจ ยุคใหม่. วารสารมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 8(1), 48-67.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2557). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). ภาวะผู้นำ, ผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2560). โลกยุค 4.0 World 4.0. กรุงเทพฯ: กองทัพบก.

ภาสกร ศรีสุวรรณ และณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558). กลยุทธ์และประสิทธิผลของการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option =show&browse_type=title&titleid=380525

Blake, R.R. and Mouton.T.S. (1964). The Managerial G€rid. Houton, Tex: Gulf Publishing Co.

Hoy, Wayne K. & Cecil G, Miskel. (2001). Educational Administration: Theory,Research and Practice. 6 th ed. Mc Graw – Hill International Edition 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-05