แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้งตาม หลักสาราณียธรรม 6 สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ พิมาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารความขัดแย้ง, หลักสาราณียธรรม 6

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้ง 2. เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้ง ตามหลักสาราณียธรรม 6 สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการแจกแบบสอบถาม จำนวน 310 คน สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และดัชนีค่าความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย

  1. การศึกษาสภาพคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้ง สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 มีโดยการศึกษาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodifiedอยู่ระหว่าง 0.42 - 0.49 โดยภาพรวม PNImodified = 0.46 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่พบว่ามีความสำคัญลำดับที่ 1 คือ ด้านบุคลิกภาพ ลำดับที่ 2 คือ ด้านการบริหารจัดการ ลำดับที่ 3 คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านความสามารถ ตามลำดับ
  2. วิธีการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม 6 โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เมตตากายกรรม มี 8 วิธี 2. เมตตาวจีกรรม มี 3 วิธี 3. เมตตามโนกรรม มี 9 วิธี 4. สาธารณโภคี มี 12 วิธี 5. สีลสามัญญตา มี 3 วิธี 6. ทิฏฐิสามัญญตา มี 6 วิธี และ
  3. แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม 6 แบ่งออกได้ 3 ส่วน ดังนี้ 1. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้ง ได้แก่ บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านการบริหารจัดการ) มีบุคลิกภาพที่ดี(ด้านบุคลิกภาพ) ยืดถือในคุณธรรม (ด้านคุณธรรมจริยธรรม) และเป็นผู้นำด้วยความสามารถ (ด้านความสามารถ) 2. ตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3. ขั้นตอนการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารความขัดแย้ง ได้แก่1.การเอาชนะ (Competition=C) มีแนวทางในการพัฒนาตามหลักสาราณียธรรม 6 11 แนวทาง 2.ร่วมมือ(Collaboration=C) มีแนวทางในการพัฒนาตามหลักสาราณียธรรม 6 11 แนวทาง 3.ประนีประนอม(Compromise=C) มีแนวทางในการพัฒนาตามหลักสาราณียธรรม 6 8 แนวทาง 4.หลีกเลี่ยง(Avoidance=A) มีแนวทางในการพัฒนาตามหลักสาราณียธรรม 6 9 แนวทาง 5.ยอมให้ (Accommodation=A) มีแนวทางในการพัฒนาตามหลักสาราณียธรรม 6 8 แนวทาง

References

กลุ่มสารสนเทศ สนผ. (2565). สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ลพบุรี เขต 1, แหล่งที่มา http://data.bopp-obec.info/emis/index_area.php?

Area_CODE=101701 (1 สิงหาคม 2565)

ณัฐพล จันทร์เกิด (2560) แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา). นครววรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พีระวุฒิ อุดมทรัพย์. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: พหุ

กรณีศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

สมคิด บางโม. (2550). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ลิพ

เพรส.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชาติ เบิกประโคน. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน กลุ่ม

บางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and

Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04