การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของ ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การบริหาร, สุขภาวะ, หลักพละ 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. ด้านการตรวจสอบ 3. ด้านการปรับปรุง และ 4. ด้านการวางแผน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ พบว่า 1. ด้านกระบวนการบริหารงาน ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติ และด้านการปรับปรุง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า กระบวนการบริหารงาน ร่วมกันทำนายบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุดังกล่าว ได้ร้อยละ 54.5 และ 2. ด้านสุขภาวะทางกาย การดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้านสุขภาวะทางสังคม ปัจจัยที่ส่งต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมผู้สูงอายุ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ ผลที่เกิดจากการปฏิบัติฝึกอบรมเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณ การฝึกจิตให้ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม ฝึกปฏิบัติสมาธิจิตให้เข้มแข็ง และ 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ การออกระเบียบมาตรการใหม่ ย่อมเป็นความก้าวหน้าต่อการบริหารจัดการ และการส่งเสริมการบริหารด้วย ในทางกลับกันถ้าแนวทางหรือมาตรการใด ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการ ย่อมทำให้เสียประโยชน์ ดังนั้น การบูรณาการหลักพละ 4 เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ด้านกำลังความรู้ (ปัญญาพละ) ด้านนำสู่การปฏิบัติ (วิริยพละ) ด้านซื่อสัตย์สุจริต (อนวัชชพละ) และด้านมีจิตอาสา (สังคหพละ) โดยร่วมกับกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การบริหาร, สุขภาวะ, หลักพละ 4
References
กัมพล ราชวงษ์ และคณะ. (2558). การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กรอสังหาริมทรัพย์โดยใช้หลักธรรมาภิบาล:กรณีศึกษาบริษัทแสนสิริจำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1).
ทรัพย์ สิมะวงศ์. (2546). ได้ศึกษาลักษณะการรวมตัวของผู้สูงอายุในชุมชนชานเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2555). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตามหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย (รายงานผลวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทัศมาวดี ฉากภาพ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เบญจวรรณ สุจริต. (2557). รูปแบบการจัดการสุขภาวะและการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย และคณะ. (2563). ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2).
รินทอง แก้วทุม. (2560). การบริหารการพัฒนาเชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วาสนา ม่วงแนม. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 11. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 11(2).
วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3).
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2551). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ ปัจจัยการบริหารจัดการ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรินทร์ธร ศิธรกุล. (2557). ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(3).
สมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2561). รูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 19(2). 121-132.
William Edwards Deming. (2560). วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA: Deming Cycle). สืบค้น 23 มกราคม 2565, จาก http://adisony.blogspot.com/edward-deming.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.