การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ปัจจัยการบริหาร, บูรณาการหลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ และนำเสนอการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยการ บูรณาการหลักพุทธธรรม รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 387 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 50.40 หลักภาวนา 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 57.80 และ ปัจจัยการบริหารและหลักภาวนา 4 ร่วมกันส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 65.50
- พัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม พบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ มีปัจจัยพื้นฐาน คือ ปัจจัยการบริหาร นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย 1.กายภาวนา 2.สีลภาวนา 3.จิตภาวนา 4.ปัญญาภาวนา
References
ทัศมาวดี ฉากภาพ. (2564). โมเดลความพร้อมเชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินฺโท (ทรัพย์สวัสดิ์). (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 : กรณีศึกษาผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2552). สุขแท้ด้วยปัญญา วิถีสู่สุขภาวะทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พระสุนทรกิตฺตคุณ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. มหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 1-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.