แนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนบ้านฮางโฮงตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วิรพร โกษาแสง
  • เดชรัตน์ สุขกำเนิด

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุน, ผู้เลี้ยงโคขุน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน และศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง ตำบลธาตุเชิงชุม ผลการวิจัย พบว่า

  1. ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน ที่สำคัญที่สุดมี 3 ด้าน คือ (1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรยังต้องเรียนรู้และพัฒนาประสบการณ์ในการเลี้ยงโคขุนในการคัดเลือกพันธุ์ การให้อาหาร การบำรุง การฉีดวัคซีน การดูแลรักษาโรค ปัญหาที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือปัญหาเรื่องต้นทุนในการเลี้ยงโคขุน รองลงมาคือ ปัญหาการดูแลและป้องกันโรค ปัญหาแหล่งอาหาร และปัญหาการคัดเลือกและผสมพันธุ์ ตามลำดับ (2) ด้านการตลาด พบปัญหาในเรื่องถูกกดราคาจากพ่อค้าในระดับท้องถิ่น โดยที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือปัญหาในเรื่องการขายโคขุนในราคาที่เป็นธรรม (3) ปัญหาในด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง พึ่งเริ่มก่อตั้งได้ 2 ปี จำนวนสมาชิกยังไม่มาก จึงยังไม่พบปัญหาในด้านการบริหารจัดการมากนั้น
  2. แนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม โดยสรุป คือ
    (1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ ต้องมีการหาแหล่งอาหารหยาบคุณภาพดี เรียนรู้การผลิตอาหารข้นเอง มีผู้ที่มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เลี้ยงรายใหม่ มีการเยี่ยมคอกแบ่งปันความรู้และเทคนิคในการเลี้ยง การใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ในการทำปุ๋ยหมักใช้เองและนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ การใช้องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านให้โคขุนมีสุขภาพที่ดี (2) ด้านการตลาด ต้องติดต่อกับตลาดรับซื้อระดับบนโดยตรง โดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน คอกกลางโคขุนจังหวัดสกลนคร ทวาปี ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับจังหวัด สร้างคอกกลางโคขุนจังหวัด มีมาตรฐาน GFM ในการผลิต การรวบรวมโคก่อนขุนที่มีคุณภาพ ส่งให้สมาชิกและรับซื้อโคขุนจากสมาชิกเครือข่าย ส่งเสริมให้สมาชิกเลี้ยงแม่พันธุ์โค โดยการกู้เงิน ธกส. มีการสื่อสารให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานการผลิต (3) ด้านการบริหารจัดการ เน้นหลักการธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการกลุ่มสมาชิก สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือ พัฒนาระบบข้อมูล การจัดการด้านบัญชีและการเงิน รวมถึงพัฒนาพื้นที่สำหรับการจัดอบรม ประชุม การทำแปลงปลูกหญ้าเนเปีย การทำโรงผลิตอาหารข้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานและเรียนรู้ของสมาชิกในอนาคต

ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อการพัฒนา คือ (1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ วิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง ควรมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านวิชาการ เช่น มหาวิทยาลัย หรือกรมปศุสัตว์ ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการเลี้ยงโคขุนอย่างมีคุณภาพ และต่อยอดการพัฒนา (2) ด้านการตลาด ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จัก (3) ด้านการบริหารจัดการ ควรมีการศึกษาเรียนรู้จากบทเรียนของวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ และนำมาประยุกต์ใช้ รวมถึงเชื่อมต่อกับทรัพยากรในพื้นที่ โดยการบรรจุแผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไว้ในแผนแม่บทชุมชน แผนขององค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           

References

กนกวรรณ บวรอารักษ์. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในเขตทุ่งครุ. พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2563.

กาญจนา รัตนธีรวิเชียร และคณะ. 2557. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลงานวิจัย. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

กาญจนา แก้วเทพและกนกศักดิ์ แก้วเทพ. 2530. การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ.สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). ข้อมูลจำนวนวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสกลนคร.

จาก https://smce.doae.go.th

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์. (2549). เกษตรกรก้าวหน้า อนาคตเกษตรไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).

จรีภรณ์ มีศรี. 2563. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาลี-วรรณ ชุมชนพัฒนาตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2563. กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา.

ธันยมัย เจียรสกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 34(1).

ประเวศ วะสี และไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. 2538. ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสังคมทั้งหมดร่วมกันโลกาภิวัฒน์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: 179 การพิมพ์.

ธำรง เมฆโหรา และคณะ. (2551). การศึกษาระบบลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของโคเนื้อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปานฉัตร อาการักษ์ และกัสมา กาซ้อน. (2561). ความเสี่ยงจากการลงทุนและปัญหาของผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2,

-73.

วสันต์ เสือขำ. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกระดับ 5 ดาว ในระดับภูมิภาค: กรณีศึกษาสินค้าประเภทอาหารในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชิต นันทสุวรรณ. (2547). วิสาหกิจชุมชน: แผนแม่บท แนวคิด แนวทาง ตัวอย่าง ร่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาไท, 2544.

สว่าง อังกุโร. (2556). ทำอย่างไรเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อไทยจะอยู่รอด. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์, 40(158), 32-36.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์.

สุวัฒน์ มัตราช. (2557). การพัฒนาการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ดุษฏีนิพนธ์สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โอภาส พิมพา และคณะ. 2562. การพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตอบสนองต่อระบบห่วงโซ่อุปทาน. บทความวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ญาณิ พายัพสาย และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน. จาก https://www.econ.cmu.ac.th.

สุรชัย สุวรรณลี. (2561). การขุนโคและคุณภาพเนื้อ. จาก https://www. agri.ubu.ac.th.

เสรื พงศ์พิศ. (2552). วิสาหกิจชุมชนสร้างฐานการพัฒนา. จาก http://www.phongphit.com.

สำนักงาน ธกส. จังหวัดเลย. (2559). คูมือประกอบการอบรมโครงการฟนฟูและพักหนี้เกษตรกรรายยอยและยากจน. จาก https://vet.kku.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31