กระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว : กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
กระบวนการปรับตัว, ชุมชน, ความอยู่รอดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิต ผลกระทบ และวิธีการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
2) ศึกษากระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน และประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลาดอัมพวา ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- วิถีชีวิต ผลกระทบ และวิธีการปรับตัวของชุมชน การเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำอัมพวาตลอดเวลาที่ผ่านมากลุ่มนายทุนเข้ามาซื้อกิจการต่อจากคนในพื้นที่เกือบหมด แต่คงแก้ไขปัญหายาก เพราะชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีทางสู้กับกลุ่มทุนได้ เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและมีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยระบบเศรษฐกิจ
จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระบบการหมุนเวียนของเงิน ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องใช้เงินในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในการอยู่รอดภายในสังคม - กระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชน
อัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คือ การได้รับประโยชน์ของชุมชนอัมพวา การทำให้ชุมชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารธุรกิจขายของที่ระลึก ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่พัก นอกจากนี้ยังกระจายผลประโยชน์ในทางอ้อม ซึ่งเป็นผลพวงจากการท่องเที่ยว ได้แก่ การตกปลาและตกกุ้ง แต่เดิมที่ขายส่งให้แก่พ่อค้าคนกลางปรับเปลี่ยนเป็น ขายให้นักท่องเที่ยวโดยตรง ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวามักตกไปอยู่กับผู้ประกอบการธุรกิจนอกพื้นที่มากกว่าผู้ประกอบการธุรกิจของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนมักประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ใช้เงินในการลงทุนไม่มากประกอบกับวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย
ไม่ชอบการแข่งขัน ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตลาดอย่างเพียงพอทำให้คนในชุมชนบางส่วนกลายเป็นแรงงานให้กับนักลงทุน - ควรจัดอบรมให้ความรู้ ทำความเข้าใจร่วมกันใน เรื่องของการท่องเที่ยว และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการโดยคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการของส่วนรวม เป็นสำคัญเช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ การสร้างผลิตภัณฑ์แบบใหม่เหมือกับต่างประเทศหรือกลุ่มอาชีพที่พัฒนาแล้ว มีการประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ควรวางแผนส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธี การพัฒนาแบบพึ่งตนเองการบริหารจัดการ และชุมชนอัมพวา โดยอาจจัดให้มีกลุ่มอนุรักษ์ หรือกลุ่มให้คำปรึกษาเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว ให้โอกาสทุกคนได้ร่วมกันคิด วางแผน แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ดีที่สุด และถูกต้องที่สุดสำหรับชุมชนอัมพวา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเพื่อเป็นรากฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวที่ดีในวันนี้และในวันข้างหน้าให้ยั่งยืนตลอดไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา, สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี ๒๕๖๓ (Tourism Statistics 2020), [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=592 [๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.tourism.go.th. [๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔].
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์, ๒๕๕๔.
มินตรา ติรณปริญญ์, การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริเวณเทศบาลตำบลอัมพวาและพื้นที่ใกล้เคียง, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
อิสริยาภรณ์ จุลภัคดิ์. “กระบวนการปรับตัวของครัวเรือนที่ทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติต่อการปรับเปลี่ยนทางการเกษตรและการขยายอำนาจรัฐในการจัดการป่า : กรณีศึกษาบ้านวังลุง ตำบลทอนหงษ์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ๒๕๕๐.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.