รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาโรงเรียนศึกษานารี)

ผู้แต่ง

  • พระปุณณาณัฏฐ์ สุรปญฺโญ (บุญญรัตน์ปภากร)

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ความรับผิดชอบ, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนศึกษานารี จำนวน 341 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหมวด และครุ จำนวน 6 ท่าน นักเรียนกลุ่มกิจกรรม จำนวน 6 ท่านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบในการศึกษาเล่าเรียน ด้านความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. วิธีการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีความขยันหมั่นเพียร มีความตั้งใจจริง อดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงพอใจต่าง ๆ มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทุกรายวิชามุ่งปลูกฝังให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ ส่งเสริมพรสวรรค์ที่มีในตัวของนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น โรงเรียนเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและเป็นสถานที่ที่นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในตัวเองได้มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อสังคม
  3. วิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เมื่อมีปัญหาพบว่าไม่เข้าใจในบทเรียนก็พยายามศึกษาค้นคว้า ด้วยตัวเองเสมอผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ การศึกษาของนักเรียนประสบผลสำเร็จ มีความขยันหมั่นเพียร มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาร่วมกิจกรรมส่งเสริมตามหลักสูตรของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนองความสามารถเฉพาะทาง หรือส่งเสริมพรสวรรค์ที่มีในตัวของนักเรียน แบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันตามความสามารถของตน ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวครอบครัว แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ดูแลเอาใจใส่บิดามารดาให้เหมือนกับที่บิดามารดาดูแลเอาใจใส่ตน
    ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของบุคคลที่จะเป็นภัยต่อสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในตัวเองได้ มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อสังคม

References

โรงเรียนศึกษานารี. (2564). ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนศึกษานารี ปีการศึกษา 2563. สืบค้น 27 มกราคม 2564,

จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720076&AreaCODE=101701

พิชิต เนาวพันธุกุล. (2552). การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนลําปาววิทยาคม อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ สังกัดองค์การบริหารสวนจังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูสังฆกิจโสภณ. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัด

เบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. (น.45-47). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

อภิญญา เวชยชัย. (2546). การศึกษาทบทวนสภาวการณ์ปัญหาของครอบครัวไทยและข้อเสนอต่อ นโยบายการพัฒนาสถาบันครอบครัว. ปทุมธานี: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชลี โอ่งเจริญ และภูริทัต ศรีอร่าม. (2552). ผลของการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมตามแนวพุทธให้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา (รายงานผลวิจัย). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดโสธรวราราม.

Krejcie & Morgan. (2564). ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน. สืบค้น 27 มกราคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/bb24559r/khnad-khxng-klum-tawxyang-thi-hemaa-sm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31