ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทยสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย, ความรู้, ทัศนคติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนแม่ชีไทยในสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์กรุงเทพมหานคร จำนวน 169 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.2 ระดับมาก ร้อยละ 27.8 ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย (r = 0.542) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .01) แต่ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการบวช ระยะเวลาที่มาพำนักในสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร โรคประจำตัว การอบรมความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และบรรยากาศองค์กรที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย
ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้หัวหน้าสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร ควรวางแผนกำหนดนโยบายและโครงการที่ชัดเจนในการส่งเสริมสุขภาพของแม่ชีไทย รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากสื่อต่างๆ ส่งเสริมให้แม่ชีไทยมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์การส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ให้แม่ชีไทยมีการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น จัดกิจกรรมที่หลากหลายในสำนักอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สนับสนุนกระตุ้นให้แม่ชีเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อจะได้รับความรู้และทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง
References
จักรี ปัถพี. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. คณะศิลปะศาสตร์.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณพัฐอร สอาดบุญเรือง. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลวังกรด อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นวรัตน์ ไวชมภู และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตาม หลัก 3 อ.ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เนาวรัตน์ ช่างไม้. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. กรุงทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 25-36.
วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิชิต ยศสงคราม และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ อําเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
บทที่ 1, 1(10), 205.
ศิลป์ชัย เนตรทานนท์ และอุทัยวรรณ โคกตาทอง. (2563). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานในชุมชน เขตสุขภาพที่ 5.วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 16(2).
สุพัตรา การะเกตุ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร. กรุงทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุษณีษ์พรรณ สุดแสง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.