การจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส

ผู้แต่ง

  • พระมหาอภิชาติ วชิรชโย (กิจันทร์)

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, หลักพระพุทธศาสนาของคนไทย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อศึกษาความเครียดของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส 2. เพื่อศึกษาการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส และ 3. เพื่อเสริมสร้างพุทธวิธีการจัดการความเครียดของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ความเครียด คือ อาการของการคิดไม่ตก ว้าวุ่น หาทางออกไม่ได้ มีความกังวลอยู่เสมอ มีความคิดที่ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งมาจากปัญหาความกังวลในการเลี้ยงลูกเพื่อให้ลูกมีการศึกษาและชีวิตที่ดี จากการทำงานที่หนักเกินไป แรงกดดันตามข่าวทีวี เพื่อน ครอบครัว หน้าที่การงาน จากปัญหาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 จากปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีค่าครองชีพที่สูงขึ้น และจากโรคภัยไข้เจ็บ ความเครียดนั้น ได้ส่งผลกระทบหลายทางด้วยกัน แยกได้ดังนี้ คือ 1. ส่งผลกระทบต่อร่างกาย 2. ผลกระทบทางจิตใจ 3. ผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง 4. ผลกระทบต่อที่ทำงาน 5. ผลกระทบต่อสังคม
  2. การจัดการความเครียดโดยทั่วไปนั้นพุทธศาสนิกชนจะใช้วิธีดังนี้ คือ การไม่คาดหวังสูงเกินไป การยอมรับตามความเป็นจริง การคุยกับนักจิตบำบัด การหากิจกรรมทางกายภาพบำบัด เช่น ไปเที่ยว เดินป่า อ่านหนังสือ ทำอาหาร ออกกำลังกาย รวมถึงการอยู่กับเพื่อน โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้ดีมาก มีดังนี้ คือ 1. ทาน ศีล 2. การสวดมนต์ไหว้พระ 3 การเจริญสมาธิภาวนา 4. ศีล สมาธิ ปัญญา 5. ไตรลักษณ์ 6. โยนิโสมนสิการ 7. อริยสัจ 4
  3. รูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ของทางวัด ใช้ในการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความเครียดได้ดีมาก โดยมีข้อมูลเพื่อเสริมสร้างพุทธวิธีจัดการความเครียดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป คือ 1. การจัดงานสงกรานต์ควรจัดให้มีความสนุกสนาน 2. ควรให้มีการปฏิบัติธรรมที่ยาวขึ้น 3. อยากให้พระอาจารย์ในแต่ละวัดได้เอาหลักธรรมที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น มาประกอบการสอน ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อธิบายให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดมากขึ้น เพราะคนไทยยังขาดความเข้าใจเรื่องการ 4. ควรส่งเสริมให้วัดมีการสอนเด็กรุ่นใหม่ให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยมอบหมายงานให้เขา 5. อยากให้พระอาจารย์ศึกษาเรื่อง Mindset ของคนที่นี่ เพราะคนที่นี่ต้องการโอกาสที่จะได้พูดและแชร์เปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ของเขา เมื่อเขารู้สึกดี ใจเปิด คนเหล่านี้จะมาวัดและมาทำบุญเอง เพราะคนไทยที่โตที่นี่จะไม่ชอบการกดดันและความคาดหวัง

องค์ความรู้ใหม่ ผู้วิจัยสรุปเป็นโมเดล “รูปแบบการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส” ไว้ว่า D-BICG / D-APC / H-D-FORU Model

 

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กองสุขภาพจิตสังคม.

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. (2560). ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติ

ที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). สถาการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาคณะสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 154-167.

นิธิพันธ์ บุญเพิ่ม. (2553). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาภาณุวิชญ์ ปญฺญาปโชโต. (2555). พุทธวิธีการบำบัดรักษาโรคทางใจ (รายงานผลการวิจัย).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยรรยงค์ อิ่มสุวรรณ. (2566). ความเครียดมีผลต่อสุขภาพอย่างไร. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก www.med-afdc.net,

สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน. (2565). American Psychological Association. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://www.apa.org/news/press/releases/stress/2020/report-july

สถาบันความเครียดแห่งอเมริกา. (2565). The American Institute of Stress (AIS), September 25th, 2019. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก https://www.stress.org/the-united-states-of-stress-2019-youll-never-think-about-stress-the-same-way-again

Tyler Schmall. (2565). New York Post, SWNS, June 7, 2019. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จากhttps://nypost.com /2019/06/07/ this-is-the-most-stressed-out-city-in-america/amp/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31