การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, กระบวนการป้องกัน, ยาเสพติด, เยาวชนบทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชน 2. เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการป้องกันเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานครโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ
1. ตัวแทนเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐบาล 2. ตัวแทนผู้นำครอบครัว 3.ตัวแทนผู้นำชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน
25 คน
ผลการศึกษาพบว่า
การป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร
ระดับครอบครัว
การสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
- การสอดส่องพฤติกรรม และการแสดงออกของบุตรหลาน ว่ามีพฤติกรรมที่จะเป็นการนําไปสู่การติดยาเสพติด
- 2. การสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว โดยการอบรมสั่งสอน การพูดคุยกับ ลูกหลาน
- พ่อแม่ผู้ปกครอง จะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แบบอย่างที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน
ระดับชุมชน
- 1. การศึกษาสภาพชุมชน เพื่อวิเคราะห์ผู้นําชุมชน มุ่งเน้น การเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชน
- การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการติดตามโดยใช้มาตรการแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
- จากครอบครัวสู่สถานศึกษา โดยผ่านกฎกติกาชุมชนโดยให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
- การใช้มาตรการทางสังคม โดยการกำหนดเป็นกฎกติกาที่เป็นที่ยอมรับ จากคนในชุมชนของชุมชน
- การขจัดแหล่งอบายมุข แหล่งมั่วสุมและแหล่งจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร
- การสร้างกิจกรรมเสริมสร้างสำหรับเยาวชนในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น โครงการแลกขยะเพื่อความสัมพันธ์ในชุมชน โครงการลานกีฬาเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด โครงการดนตรีในสวน
- การจัดที่ปรึกษาและแนะแนว เพื่อช่วยให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เมื่อเยาวชนมีปัญหา
- การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร การเพิ่มรายได้ของแต่ละบุคคล ลดความยากจนและความกดดันทางเศรษฐกิจ เช่น การฝึกอาชีพ การหารายได้พิเศษ เป็นต้น
References
นิภาวรรณ ตติยนันทพร. (2565). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัย 9, 16(2),
บัณฑิตตา จินดาทอง. (2555). กลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในสถานศึกษา (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา) นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุณยานุช เดชบริบูรณ์. (2565). การวิเคราะห์นโยบายและปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาเครือข่ายดำเนินงานโครงการ รณรงคปองกันและแกไขปญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) จังหวัดตาก.วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก,
ประเสริฐ เมฆมณี. (2551). ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: บพิธ การพิมพ์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระครูกิตติวราทร (ทองปั้น) และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบวิธีการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิชาการธรรมทรรศ์, 19(3),
มทูร พูลสวัสดิ์ และคณะ. (2563). รูปแบบการป้องกันแก้ปัญหายาเสพติดโดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: วารสารวิชาการธรรมทรรศ์, 19(3),
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2542). หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม. (2562). เยาวชนกับการป้องกันยาเสพติด. สืบค้น 6 พฤษภาคม 2562, จากhttp://www.chetupon.ac.th.
ศุภกานดา สุขศรีวงษ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน: ศึกษาเฉพาะกรณีเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2542). แนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สุวิน ทองปั้น. (2558). รูปแบบการรักษาและป้องกันสารเสพติดตามแนวทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาวัด พุทธเกษม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
อภิญญา เวชยชัย. (2546). การศึกษาทบทวนสภาวการณ์ปัญหาของครอบครัวไทยและข้อเสนอต่อนโยบายการพัฒนาสถาบันครอบครัว. ปทุมธานี: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.