รูปแบบอักขรวิธีไทยและลักษณะภาษาไทย ที่ปรากฏบนจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน

Main Article Content

รักชนก เสมามอญ
เก็จมณี บุตรดีขันธ์
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

รูปแบบอักษรและอักขรวิธีไทยที่ปรากฏในจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน ประกอบด้วยรูปแบบอักษรทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย โดยพยัญชนะมีจำนวน 33 รูป ได้แก่ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ญ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห อ สระมีจำนวน 15 รูป ได้แก่ ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ แอ เอือ โอ อำ ไอ ใอ เอา อํ วรรณยุกต์มีจำนวน 2 รูป ได้แก่ I (เอก) + (โท) และการใช้ตัวเลขปรากฏเป็นตัวหนังสือบอกจำนวน วัน และเดือน ส่วนลักษณะภาษาไทยที่ปรากฏในจารึกวัดพระยืนจังหวัดลำพูน พบว่า มีลักษณะภาษาไทยตามชนิดของคำ จำนวน 6 ชนิด คือ 1) คำนาม พบสามานยนาม วิสามานยนาม และสมุหนาม 2) คำสรรพนามพบคำเรียกแทนบุคคลที่ 2 ปรากฏคำว่า “เจ้า” และเรียกแทนบุคคลที่ 3 ปรากฏคำว่า “ท่าน” 3) คำกริยา พบคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ และกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ 4) คำวิเศษณ์พบคำวิเศษณ์บอกจำนวน และสถานที่ 5) คำบุพบท พบคำว่า “แก่” เป็นคำเชื่อม และ 6) คำสันธานพบคำว่า “และ” ที่เชื่อมใจความแบบคล้อยตามกัน โดยใช้แนวคิดของพระยาอุปกิตศิลปสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำปา เยื้องเจริญ และคณะ. 2533. “จารึกวัดพระยืน”, ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 78-80.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ. 2526. “ศิลาจารึกวัดพระยืน พุทธศักราช 1913”, ใน จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 90-101.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ. 2500. คำอ่านศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน. ศิลปากร, 1(1): 61-69.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. 2531. หลักภาษาไทย (อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.