การกำหนดความผิดมูลฐานในความผิดฐานรับของโจร : ศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส

ผู้แต่ง

  • วิมลพงศ์ แซมกระโทก

คำสำคัญ:

ความผิดมูลฐาน, รับของโจร, ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด

บทคัดย่อ

ความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ยังมีข้อจำกัดในการบังคับใช้ เนื่องจากมีเงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยอันเป็นข้อเท็จจริงภายนอกโครงสร้างความรับผิดทางอาญามาจำกัดการลงโทษไว้ กล่าวคือ จะลงโทษผู้รับของโจรได้ ต้องปรากฏว่าทรัพย์ที่กระทำต่อนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก และเจ้าพนักงานยักยอกเท่านั้น หากเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานอื่น เช่น ความผิดฐาน     เจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ความผิดฐานเรียกค่าไถ่ ความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ แม้ผู้กระทำจะรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดก็ไม่สามารถลงโทษผู้นั้นในความผิดฐานรับของโจรได้เพียงเพราะว่าความผิดเหล่านี้มิได้ระบุไว้เป็นความผิดมูลฐานเท่านั่นเอง ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นควรศึกษาถึงขอบเขตและแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดความผิดมูลฐานในความผิดฐานรับของโจร เพื่อให้ความผิดฐานรับของโจรสามารถใช้บังคับได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมทุกฐานความผิดที่เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทรัพย์   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-05