การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์โดยสัญญาอื่นอันมิใช่สัญญาซื้อขาย

ผู้แต่ง

  • โอมาร์มุกตาร์ นำ

คำสำคัญ:

การโอนกรรมสิทธิ์, สังหาริมทรัพย์, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บทคัดย่อ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมิได้บัญญัติถึงวิธีที่กรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนมือจากบุคคลหนึ่งมายังอีกบุคคลหนึ่งอันเนื่องมาจากนิติกรรมไว้เป็นการทั่วไปเหมือนดังเช่นประมวลกฎหมายของประเทศในภาคพื้นยุโรปโดยมาก แต่กลับบัญญัติเพียงเฉพาะบางเรื่องบางลักษณะ เช่น มาตรา 458 อันเป็นการดำเนินตามกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสที่ถือว่าสัญญาในทางลักษณะหนี้ได้มีผลเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาไปในตัว แต่กฎหมายโรมันการโอนกรรมสิทธิ์จะต้องมีการส่งมอบการครอบครอง และตามกฎหมายแพ่งเยอรมันนอกจากจะมีการส่งมอบแล้วยังจะต้องยินยอมพร้อมใจให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือด้วย ทั้งนี้ โดยถือหลักว่านิติกรรมมีผลแต่เพียงทำให้คู่กรณีมีหน้าที่ในทางกฎหมายลักษณะหนี้ที่จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ให้เท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์จะผ่านมือต่อเมื่อได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันตามกฎหมายลักษณะทรัพย์ แต่กฎหมายลักษณะทรัพย์ซึ่งปรากฏอยู่ในบรรพ 4 บัญญัติเฉพาะกรณีที่กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไปโดยผลแห่งกฎหมายเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยจึงควรมีบทกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์โดยสัญญาอื่นอันมิใช่สัญญาซื้อขาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24