การรับมรดกของทายาทตามสัญญาค้ำประกัน
คำสำคัญ:
ค้ำประกัน, มรดก, เอกสารสิทธิ์บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการพิจารณาคดีของศาล ว่าด้วยเรื่องของการรับมรดกของทายาทของผู้ค้ำประกัน เนื่องจากการค้ำประกันนั้นเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในหนี้สินนั้น โดยการค้ำประกันไม่ได้กำหนดแบบแต่อย่างใด เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญก็เป็นอันใช้ได้แล้ว แต่มีประเด็นที่น่าสนใจว่าเมื่อผู้ค้ำประกันตาย สิทธิ หน้าที่และความรับผิดตามสัญญานี้จะตกทอดไปยังทายาทของผู้ค้ำประกันหรือไม่ ซึ่งในทางคดีเคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 6023/2538 มีคำพิพากษาในทำนองว่าทายาทผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ แต่ในเวลาต่อมามีคำพิพากษาฎีกาที่ 1268/2555 พิพากษาในทำนองว่าสัญญาค้ำประกันไม่ได้ระงับไปเพราะความตายของผู้ค้ำประกัน สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ จึงยังตกทอดไปยังทายาทของผู้ค้ำประกัน โดยคำพิพากษาฎีกาทั้งสองนี้มีข้อเท็จจริงที่เหมือนกันคือ ผู้ค้ำประกันได้ตายก่อนที่ลูกหนี้ผิดนัด แต่กลับมีคำพิพากษาฎีกาที่ต่างกัน หากการพิจารณาได้นำเรื่องของการอ้างเอกสารในนำสืบคดีเกี่ยวเรื่องเอกสารสิทธิ์ของหนังสือสัญญาค้ำประกัน ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ ก็จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีเอากับทายาทได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย