การตรวจพิสูจน์บุคคลในคดีอาญา: ศึกษากรณีการตรวจเลือดผู้ต้องหา ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ
คำสำคัญ:
การตรวจพิสูจน์บุคคล, การตรวจเลือด, สิทธิและเสรีภาพบทคัดย่อ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และมาตรา131/1 ยังให้อำนาจพนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่ทั้งนี้ได้บัญญัติให้ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตรวจเลือดผู้ต้องหาเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีได้แต่ในเฉพาะกรณีที่ผู้ต้องหาให้ความยินยอมเท่านั้น ในขณะที่กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถบังคับตรวจเลือดผู้ต้องหาได้หากเห็นว่ามีความจำเป็น เช่น ศาลสหรัฐอเมริกาได้วางหลักในคำพิพากษาว่า ในกรณีจำเป็นรัฐสามารถที่จะทำการตรวจเลือดผู้ต้องหาได้ โดยวางหลักให้ผลประโยชน์ของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมย่อมอยู่เหนือประโยชน์ของบุคคล และตามหลักกฎหมายข้างต้นพนักงานสอบสวนจะสามารถตรวจเลือดได้ก็แต่เฉพาะบุคคลที่อยู่ในฐานะตกเป็นผู้ต้องหาแล้วเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาหากเป็นกรณีที่บุคคลนั้นยังไม่ตกเป็นผู้ต้องหาแต่อยู่ในสถานภาพของผู้กระทำผิดโดยเฉพาะในคดีความผิดทางเพศ แม้บุคคลที่กระทำไม่ได้ตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาแต่แพทย์ต้องการที่จะเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV จากผู้กระทำนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาถึงความจำเป็นในการให้ยาต้าน HIV ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อรักษาผู้เสียหายได้อย่างทันท่วงที
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย