แนวทางการใช้ดุลพินิจของศาลต่างประเทศและของศาลไทยในการวินิจฉัยการเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป

ผู้แต่ง

  • ธารินทร์ กุลปรียะวัฒน์ อาจารย์, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยภาคกลาง นครสวรรค์ 60000, อีเมล: tarin56@hotmail.com

คำสำคัญ:

ทรัพย์สินทางปัญญา, ความคุ้มครอง, เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มครองสำหรับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป รวมทั้งแนวทางการใช้ดุลพินิจของศาลในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติกฎหมาย บทความวิชาการ คำพิพากษาศาลของต่างประเทศและของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังมีความคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่นั้น ศาลได้ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติการณ์แวดล้อมของคดีในภาพรวมก่อน จากนั้นศาลจะพิจารณาว่า เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อนนั้นมีลักษณะบ่งเฉพาะที่เข้มแข็งหรือไม่ หากเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อนมีลักษณะบ่งเฉพาะที่เข้มแข็ง ความคล้ายกันของลักษณะบ่งเฉพาะดังกล่าวที่เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังได้เลียนแบบนั้นย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังนั้นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อนได้ง่ายขึ้น ในลักษณะนี้ย่อมแสดงถึงเจตนาไม่สุจริตของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังได้ ต่อมาศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (ECJ) พิจารณาเห็นว่าแนวการใช้ดุลพินิจลักษณะนี้เป็นเพียงความเชื่อว่าน่าจะเกิดความเสียหายขึ้นเท่านั้น จึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังได้เอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอันตรายต่อชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อน กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อนต้องนำสืบพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงโดยพิสูจน์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคของสินค้าหรือบริการที่เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนก่อนได้จดทะเบียนไว้อันแสดงถึงผลที่ตามมาหลังจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทีหลังด้วย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2550). กฎหมายเครื่องหมายการค้า-ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564 จาก https://www.ipthailand.go.th/images/781/L_china_8.pdf

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2550). กฎหมายเครื่องหมายการค้า-ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564 จาก https://www.ipthailand.go.th/images/781/L_korea_8_mark.pdf

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2550). กฎหมายเครื่องหมายการค้า-ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564 จาก https://www.ipthailand.go.th/images/781/L_singapore_8_mark.pdf

คดีละเมิด...เครื่องหมายการค้า, สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 2564, จาก https://ip.kku.ac.th/ip/IP%20คดี/1.คดีละเมิดเครื่องหมายการค้า.pdf

คำพิพากษาฎีกาที่ 22783/2555. (2550). สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.deka.supremecourt.or.th

คำพิพากษาฎีกาที่ 6113/2555. (2550). สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.deka.supremecourt.or.th

คำพิพากษาฎีกาที่ 6857/2561. (2561). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564 จาก https://www.deka.supremecourt.or.th

ชมพูนุท สถิตย์เสมากุล. (2559). การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพ ยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน . สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564 จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2559/b193179.pdf

ซินหัวไทย. (2563). ประเทศจีนมีประชากรทะลุ 1,400 ล้านคน. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2564 จาก https://www.xinhuathai.com/china/70255_20200117

ตังศิริ. (2559). หากทนายเก่ง “สตาร์บัง” อาจไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ หลัง Starbucks แพ้คดีใช้โลโก้เหมือนในสิงคโปร์,. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564 จาก https://brandinside.asia/starbucks-loses-logo-in-singapore/

สันติชัย วัฒนวิกย์กรรม์ และคณะ. (2557). กฎหมายเครื่องหมายการค้าและกฎหมายป้องกันการผูกขาดเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564 จาก https://oia.coj.go.th/th/file/get/file/2018092588da114b5f8194907.pdf

เอ็มจีอาร์ออนไลน์. (2556). "สตาร์บัคส์ เหี้ยม! ฟ้อง "สตาร์บัง". สืบค้นเมื่อ 15 March 2564 จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9560000130452

Atkins, Michael. (2007). It's Final: Starbucks Loses South Korean STARPREYA Infringement Dispute. Retrieved March 31, 2021, from http://seattletrademarklawyer.com/blog/2007/1/12/its-final-starbucks-loses-south-korean-starpreya-infringemen.html

BITLAW. (2016). Section 43 of The Lanham Act. Retrieved March 17, 2021, from https://www.bitlaw.com/source/15usc/1125.html

BRAND ECJ CASE. (2010). Retrieved March 31, 2021, from https://www.cms-lawnow.com/ealerts/1998/06/brands-ecj-cases-sabel-bv-v-puma-ag-likelihood-of-confusion-under-the-european-directive-harmonisi?cc_lang=en

BRAND FINANCE. (2021). BRAND 500 2021 RANKING. Retrieved March 15, 2021, from https://brandirectory.com/rankings/global/table

BROWN, EVE. (2020). UK: Check Mate! Louis Vuitton Defends Its Chequerboard Pattern For The Second Time. Retrieved March 31, 2021, from https://www.mondaq.com/uk/trademark/969042/check-mate-louis-vuitton-defends

Coffee on the rocks: Starbucks v Coffee Rocks. (2018). Retrieved March 31, 2021, from https://www.dyoung.com/en/knowledgebank/articles/starbucks-coffeerocks

Economides, N. s. (2006). THE ECONOMICS OF TRADEMARKS. Retrieved March 20, 2021, from http://neconomides.stern.nyu.edu/net/Economides_Economics_of_Trademarks.pdf

Hio, Lester. (2019). Starbucks loses trademark lawsuit to Morinaga Milk over mountain range logo. Retrieved March 31, 2021, from https://www.straitstimes.com/singapore/starbucks-loses-trademark-lawsuit-to-morinaga-milk-over-mountain-range-logo

Info Curia Case Law. (2008). Intel Corporation Inc. v. CPM United Kingdom Ltd. Retrieved March 31, 2021, from https://curia.europa.eu/juris/document/document.jsf;jsessionid

Moscona, Ron . (2008). European Court of Justice Hands Down Long Awaited Decision in Trade Marks Dilution Case, Retrieved March 31, 2021, from https://www.dorsey.com/newsresources/publications/2008/12/european-court-of-justice-hands-down-long-awaited

Ramello, G. B. (2006). What's in a Sign? Trademark Law and Economic Theory . Retrieved March 20, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/4991845_What's_in_a_Sign_Trademark_Law_and_Economic_Theory

Sorocco, Douglas. (2006). STARBUCKS V. STARPREYA: THE BRANDED-BEVERAGE BATTLE,. Retrieved March 31, 2021, from https://dunlapcodding.com/ip_blog/starbucks-v-starpreya-the-branded-beverage-battle/

Starbucks corp. v. Wolfe's Borough Coffee inc. (2009). Retrieved March 31, 2021, from https://www.lexisnexis.com/community/casebrief/p/casebrief-starbucks-corp-v-wolfe-s-borough-coffee-inc

Starbucks vs Xingbake: IPR Protection in China. (2006). Retrieved March 31, 2021, from https://readbetweentheps.com/2006/01/04/starbucks-vs-xingbake-ipr-protection-in-china/

Starbucks wins trademark dispute. (2006). Retrieved March 31, 2021, from https://www.nytimes.com/2006/01/02/business/worldbusiness/starbucks-wins-trademark-dispute.html

STOSSEL, JOHN and GOLDBERG, ALAN B.. (2020). Starbucks v. Sambuck's Coffee. Retrieved March 31, 2021, from https://abcnews.go.com/2020/GiveMeABreak/story?id=1390867

Trademark. (2020). Adidas Loses International Trademark Case. Retrieved March 31, 2021, from https://www.dww.com/articles/adidas-loses-international-trademark-case

wall-v-rolls-royce-of-america. (2010). Retrieved March 31, 2021, from https://casetext.com/case/wall-v-rolls-royce-of-america

Wikipedia. Intel Corporation v. CPM United Kingdom Ltd. Retrieved March 31, 2021, from https://en.wikipedia.org/wiki/Intel_Corporation_v._CPM_United_Kingdom_Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27