ความเข้าใจผิดระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. 2489 และ 2491

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย นาจันทร์ อาจารย์ประจําสาขาวิชากฎหมายมหาชน สํานักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ Victoria University of Wellington

คำสำคัญ:

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, ความเข้าใจผิดระหว่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแทนที่ฉบับเดิม, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บทคัดย่อ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเก่านั้นมีลักษณะที่ต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวโดยสรุปแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวบทรัฐธรรมนูญทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณน้อยกว่าการตรารัฐธรรมนูญขึ้นแทนที่

เมื่อพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2489 และ 2491 รวมทั้งรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผลจากการร่างทั้งสองครั้งแล้ว จะพบว่ามีลักษณะที่สอดคล้องกับการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแทนที่มากกว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้นอาจเข้าใจความแตกต่างระหว่างกระบวนการทั้งสองผิดไป ทำให้เข้าใจว่าตนทำหน้าที่เพียงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งยกเอาแนวคิดว่าด้วยความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญมาใช้เพื่ออธิบายการกระทำของตนในฐานะองค์กรที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้วผลลัพธ์ที่ได้คือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะถูกนำมาใช้แทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเก่า

References

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2563). คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ. แก้ไขเพิ่มเติม 2563 โดยมานิตย์ จุมปา.

กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2489). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21/2489. สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/73241

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2489). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 22/2489. สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/73242

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2489). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 29/2489. สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/73250

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2489). รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 75/2491. สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2564, จาก https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/6 3665/75_24911218_wb.pdf?sequence=1

David S. Law and Ryan Whalen. (2020) Constitutional Amendment Versus Constitutional Replacement: An Empirical Comparison. Retrieved September 18, 2021, from https://ssrn.com/abstract=3542699

George Tsebelis and Dominic J. Nardi. (2016) A Long Constitution is a (Positively) Bad Constitution: Evidence from OECD Countries. British Journal of Political Science, 46 (2), 457-478.

Tom Ginsburg. (2013). Constitutions as Contract, Constitutions as Charters, in Denis J. Galligan and Mila Versteeg. Social and Political Foundations of Constitutions. Cambridge: Cambridge University Press.

Yaniv Roznai. (2017). Unconstitutional Constitution Amendments. United Kingdom: Oxford University Press.

Zachary Elkins, Tom Ginsburg, and James Melton. (2009). The Endurance of National Constitutions. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24