โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น (

Authors

  • ณัฐวุธ แก้วสุทธา (Nathawut Kaewsutha) ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
  • ผศ.ดร.อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
  • พัชรี ดวงจันทร์ (Patcharee Duangchan) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก 26120

Abstract

A Causal Relationship Model of Oral Hygiene Care Behavior and the Oral Hygiene Status of Early Adolescents

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 391 คน โมเดลตามสมมติฐาน ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัว ที่วัดค่ามาจากตัวแปรสังเกตได้ 15 ตัว ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก ได้แก่ 1) ความรู้เรื่องโรคและอนามัยช่องปาก 2) สิ่งจูงใจให้ปฏิบัติ และ 3) การรับรู้ต่อภาวะคุกคามของโรค ตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ 1) เจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก 2) ปัจจัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) พฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก และ 4) สภาวะอนามัยช่องปาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ และแบบตรวจอนามัยช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุตามสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ2=132.87, df=75, p-value=0.001, χ2/ df=1.77; RMSEA=0.044 ;RMR=0.053; CFI=0.94; AGFI=0.93; GFI=0.96 และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรม การดูแลอนามัยช่องปาก คือ ปัจจัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีค่าอิทธิพล เท่ากับ .54 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก คือ ความรู้เรื่องโรคและอนามัยช่องปาก เจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก การรับรู้ต่อภาวะคุกคามของโรค และสิ่งจูงใจให้ปฏิบัติ โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .13 .45, -.32 และ .10 ตามลำดับ ตัวแปรความรู้เรื่องโรคและอนามัยช่องปาก เจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก การรับรู้ต่อภาวะคุกคามของโรค และสิ่งจูงใจให้ปฏิบัติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก ได้ร้อยละ 30

คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก ปัจจัยเชิงสาเหตุ วัยรุ่นตอนต้น

 

Downloads

How to Cite

แก้วสุทธา (Nathawut Kaewsutha) ณ., อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang) ผ., & ดวงจันทร์ (Patcharee Duangchan) พ. (2014). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น (. The Periodical of Behavioral Science, 20(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/20142