ลักษณะกายภาพ อาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ อินทร์อนันต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
  • ทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
  • สมโชค สินนุกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

คำสำคัญ:

หอศิลป์, ลักษณะกายภาพ, ขนาดพื้นที่ใช้สอย

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่องลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อทำการศึกษา และเปรียบเทียบลักษณะกายภาพของอาคารหอศิลป์ภายในกรุงเทพฯ และนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอยของอาคารหอศิลป์ ซึ่งบทความนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพของอาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่ 6 ปัจจัย ได้แก่ โครงสร้าง วัสดุ โทนสี องค์ประกอบตกแต่ง รูปลักษณ์อาคารลักษณะการใช้งานอาคาร โดยทำการศึกษาด้วยวิธีการลงพื้นที่สำรวจ ส่วนกรณีศึกษาได้ทำการศึกษาอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยแบ่งประเภทอาคารเป็น 3 รูปแบบ (ตามกฏหมายกฎกระทรวงฉบับที่ 33 และ 55 (พ.ศ. 2543))ได้แก่ รูปแบบที่ 1 คือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (ขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตร) จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ อาคารหอศิลปวัฒนธรรมและอาคารหอศิลปไทยร่วมสมัย MOCA รูปแบบที่ 2 คือ อาคารขนาดใหญ่ (ขนาดมากกว่า 2,000 ตารางเมตร) จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ อาคารหอศิลป์ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์และ อาคารศูนย์ประติมากรรม และ รูปแบบที่ 3 คือ อาคาร จำนวน 2 อาคาร (ขนาดน้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร) ได้แก่ อาคารหอศิลป์ Bangkok city gallery และอาคารหอศิลป์ Yenakart villa

          จากการศึกษาพบว่า อาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพฯทั้งหมด 6 อาคาร มีปัจจัยทางลักษณะกายภาพครบตาม 6 ปัจจัย ได้แก่ โครงสร้าง วัสดุ โทนสี องค์ประกอบตกแต่งรูปลักษณ์อาคาร ลักษณะการใช้งานอาคาร ครบในทุกอาคาร แต่ปัจจัยทางลักษณะกายภาพทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ โทนสี รูปลักษณ์ และองค์ประกอบตกแต่งอาคาร ไม่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอยอาคารโดยตรงและมีปัจจัยลักษณะการใช้งาน ที่ส่งผลต่อขนาดอาคารมากที่สุด ซึ่งในส่วนของรายละเอียดแต่ละปัจจัยจะมีความเหมือนและแตกต่างกันตามแต่ละโครงการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23