สถานการณ์การตีตรา ทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ข้ามเพศในเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กิตติวินท์ เดชชวนากร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวทางการกำหนดเพศภาวะ / การตีตรา / การตีตราทางเพศ / นักเรียนข้ามเพศ

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การตีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่” เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์การตีตราทางเพศของนักเรียนข้ามเพศในโรงเรียน ซึ่งข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยพบว่า พื้นที่และความสัมพันธ์เอื้อต่อการเกิดสถานการณ์การตีตรานักเรียนข้ามเพศที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยพบได้ว่าการตีตราจะอยู่ในรูปแบบการรังแกนักเรียนข้ามเพศซึ่งการรังแกที่พบมากที่สุด ลำดับหนึ่งคือการรังแกทางวาจา ลำดับสองคือการรังแกทางกาย สุดท้ายคือการรังแกทางเพศ โดยพื้นที่ที่ถูกรังแกมากที่สุด ลำดับหนึ่งคือเรือนนอนหอพัก ลำดับสองคือห้องน้ำ/ห้องอาบนน้ำ สุดท้ายคือห้องเรียนและในส่วนของกลุ่มนักเรียนข้ามเพศที่ต้องท้าทายกับสิ่งที่ต้องเผชิญ และได้รับผลกระทบจากการตีตราดังกล่าวมากที่สุด ลำดับหนึ่งคือกลุ่มนักเรียนข้ามเพศที่นิยามตนเองว่า “ทอม” ลำดับสองคือกลุ่มนักเรียนข้ามเพศที่นิยามตนเองว่า “กะเทย” และสุดท้ายคือกลุ่มนักเรียนข้ามเพศที่นิยามตนเองว่า “เกย์” โดยรูปแบบการตีตรา ความท้าทายที่กลุ่มนักเรียนข้ามเพศต้องเผชิญ และผลกระทบของการตีตราที่กลุ่มนักเรียนข้ามเพศต้องเผชิญ ผู้วิจัยนำกรอบแนวคิดในการอธิบายแนวทางการกำหนดเพศภาวะของ วอลบี้ (Walby, 1990) ในระดับสูงสุดนั่นคือ ระบบสังคม มาใช้ในการอธิบายร่วมกับแนวคิดการตีตรากับข้อค้นพบที่ได้มา ถึงการทำให้เกิดระบบของความไม่เท่าเทียมกันทางเพศภาวะซึ่งทฤษฏีเพศภาวะนั้นมุ่งเน้นถึงความแตกต่างทางเพศภาวะที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการสร้างขอบเขตทางเพศภาวะที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผ่านประสบการณ์และการปฏิสัมพันธ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23