กลไกทางสังคมเพื่อผลักดัน มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาการฟ้องร้องคดี ปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาบตาพุด

ผู้แต่ง

  • เคนซูเกะ ยามากูชิ สถาบันวิจัยนโยบายทางเลือก มหาวิทยาลัยโตเกียว
  • อนรรฆ พิทักษ์ธานิน
  • สุรศักดิ์ โจถาวร
  • มนัสกร ราชากรกิจ
  • วิลาศ นิติวัฒนานนท์

คำสำคัญ:

นิคมอุตสาหกรรม, มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม, ช่วงเวลาที่เหมาะสม, มาบตาพุด, นักรณรงค์

บทคัดย่อ

          การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา ก่อให้เกิดแนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น เพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาตามนโยบายหลักทางการเงิน นิคมอุตสาหกรรมจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการปฏิบัติเชิงนโยบาย ดังนั้นการพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากนิคมอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องออกมาตรการ
ด้านสิ่งแวดล้อมในทางตรงข้ามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การผ่อนคลายมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และการลดต้นทุนการผลิต เพื่อรักษาระดับการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งป้องกันการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปยังประเทศคู่แข่งอื่นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเกิดคำถามที่ว่า ไม่มีทางออกใดๆ สำหรับการกำหนดมาตรการสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนาเลยหรือบทความวิชาการฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสรุปกลไกการทางสังคมในการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้กับนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ด้าน คือ ช่วงเวลาที่เหมาะสม สถานที่ที่มาตรการถูกนำไปใช้ และบทบาทของนักรณรงค์ในการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
          ผลการวิเคราะห์พบว่า มีปัจจัยความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด ได้แก่ ปัจจัยนอกเหนือการควบคุม จากรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ปัจจัยตัวแปรควบคุมภายในโดยตรง จากการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพจากข้อมูลมลพิษทางอากาศ ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหามลพิษจริง และปัจจัยเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จาการสนับสนุนทางการเงินและการถ่ายโอนเทคโนโลยีเพื่อรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยการเชื่อมโยงกับเครือข่ายทางสังคมทั่วโลกของนักรณรงค์ในประเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23