ความ “ใหม่” ของรัฐประศาสนศาสตร์

ผู้แต่ง

  • จุลศักดิ์ ชาญณรงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

รัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ และแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐแนวใหม่

บทคัดย่อ

          งานเขียนนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ การสรุปใจความสำคัญและเปรียบเทียบแนวคิด รัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ 3 แนวคิด ประกอบด้วยแนวคิดการจัดการภาครัฐใหม่ แนวคิดการบริการสาธารณะใหม่ และ แนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับทั้งแนวความคิดทางวิชาการและการบริการสาธารณะในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ได้ใช้แนวทางการสรุปใจความจากทัศนะของนักวิชาการหลักของแต่ละแนวคิด และเปรียบเทียบแนวคิดทั้งสามผ่านแนวทางการศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ 3 แนวทาง ประกอบด้วยแนวการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา แนวทางการศึกษาที่ใช้มิติของขอบเขตและจุดเน้น และแนวทางที่ใช้มิติของหน่วยการวิเคราะห์ พบว่าแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นการบริหารงานภาครัฐด้วยแนวทางของภาคเอกชน ในขณะที่แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ เป็นการแสดงบทบาทใหม่ของภาครัฐในการจัดการและสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เพื่อการบริการสาธารณะ และ แนวคิด ธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ เป็นการปรับบทบาทของรัฐเป็นผู้สนับสนุนการทำงานของเครือข่าย หรือภาคีอันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะเพื่อให้เกิดการยอมรับร่วมกัน สำหรับความแตกต่างได้พิจารณาจาก 3 แนวทางดังกล่าวและได้เพิ่มมิติการเปรียบเทียบ แนวคิดทั้งสามผ่าน ฐานคติของแนวคิดที่แตกต่างกัน มุมมองต่อผู้รับบริการสาธารณะ บทบาทของผู้บริหารภาครัฐ เป้าหมายการบริการสาธารณะแก่ ประชาชน และ กลไกสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์การบริการสาธารณะ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22