กฎหมายความมั่นคงกับความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
กฎหมายความมั่นคง, ความเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคม, จังหวัดชายแดนใต้บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาระสำคัญของกฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 2) ศึกษาบทบาทของภาคประชาสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่ และ 3) เสนอแนะแนวทางแห่งกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงให้มีความสอดคล้องกับการบริหารการปกครองแบบประชาธิปไตย ความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของมนุษย์
ผลการวิจัยพบว่า ในบรรดากฎหมายความมั่นคงทั้งระบบ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็นกฎหมายที่มีระดับการให้อำนาจพิเศษสูงส่วนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีเนื้อหาของบทบัญญัติในลักษณะที่เป็นอำนาจพิเศษ ตั้งแต่อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สำหรับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มีเนื้อหาของบทบัญญัติในลักษณะให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ในระดับที่ลดน้อยลงไปกว่า ทั้งนี้ กลไกของรัฐและ การใช้อำนาจรัฐทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่เข้าข่ายส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์และสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ในขณะที่ภาคประชาสังคมที่ทำงานส่งเสริมสันติภาพในพื้นที่และผลักดันการพัฒนาความยุติธรรมได้เติบโตขึ้นอย่างมาก การทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายมากขึ้น ที่โดดเด่นคือการเกิดขึ้นของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ การรวมตัวของผู้หญิงภาคประชาสังคม และการเกิดขึ้นของศูนย์ทนายความมุสลิม
งานวิจัยมีข้อเสนอแนะ (1) ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายบนหลักความเป็นธรรม โดยถือว่าประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน (2) ทบทวนการคงกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่ และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงให้สอดคล้องกับความจำเป็นที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่เป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้คดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่ภายใต้กฎหมายปกติ (3) ปรับโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีความมั่นคง ทั้งพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีความมั่นคงมาปฏิบัติหน้าที่ และเป็นผู้มีอำนาจหลักเหนือฝ่ายทหาร (4) รัฐควรมีมาตรการเสริมการปฏิบัติงานที่รองรับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และความมั่นคงของมนุษย์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร