แนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าข้าวตามมาตรฐานฮาลาลของเกษตรกร
คำสำคัญ:
การส่งเสริม มาตรฐานฮาลาล การปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตข้าวทั่วไปของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร (4) ความต้องการของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตสินค้าข้าวตามมาตรฐานฮาลาลและ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการผลิต
ข้าวฮาลาลคุณภาพ
ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผ้ปู ลูกข้าวในจังหวัดสุรินทร์ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมการข้าว ปีการเพาะปลูก 2561/62 จำนวน 320 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 178 รายและใช้กระบวนการ (focus group) โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประชากรจำนวน 5 คนประกอบด้วยเกษตรกรตัวแทนผู้ปลูกข้าว 3 คน นักวิชาการ 1 คนและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าว 1 คนรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ
ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 68.2 เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 56.91 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.32 คน ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 33.93 ปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 14.37 ไร่ ใช้เงินทุนจากเงินกู้ในการทำการเกษตรจากธนาคารของรัฐ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) รายได้ของครัวเรือนใน
ภาคการเกษตรต่อเดือนเฉลี่ย 82,7048.82 บาท รายได้ของครัวเรือนนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 18,653.63 บาทและหนี้สินเฉลี่ย 216,233.57 บาท (2) สภาพการผลิตข้าวทั่วไปของเกษตรกร เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้น้ำฝนในการเพาะปลูก พบโรคไหม้และเก็บเกี่ยวข้าวโดยสังเกตจากสีรวงข้าว (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุดร้อยละ 99.3 (4) ความต้องการของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตสินค้าข้าวตามมาตรฐานฮาลาล ด้านการจัดการความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าฮาลาล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับมาตรฐานฮาลาล (5) ปัญหาด้านการ
ส่งเสริมเกี่ยวกับหลักการผลิตสินค้าข้าวตามมาตรฐานฮาลาล ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ควรมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและศึกษาดูงาน และเป็นแนวทางให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจมาตรฐานฮาลาลเพื่อนำไปสู่การขยายตลาดต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร