จากไทยแลนด์คัพ สู่ โปรวินเชียลลีก พลวัตของ “จังหวัดนิยม” และพลังของระบบอุปถัมภ์ในกีฬาฟุตบอลไทย
คำสำคัญ:
ฟุตบอลในสังคมไทย, ประวัติศาสตร์การเมือง, จังหวัดนิยม, ไทยแลนด์คัพ, ไทยแลนด์โปรวินเชียลลีกบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการจะศึกษาประวัติศาสตร์ฟุตบอลในสังคมไทย โดยให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคที่ทำให้จังหวัดต่างๆ มีความหมายขึ้นมาในการแข่งขันกีฬาที่เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากก่อนหน้านั้นที่กีฬายอดนิยมอย่างฟุตบอลจะทำการแข่งขันกันในเมืองหลวงและให้ความหมายที่จรรโลงอย่กู ับชาติ หรือสถาบันของชนชั้นนำ บริบท ทางสังคมการเมืองไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ต่างจังหวัดเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยเงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม การเมือง พร้อมไปกับนโยบายรัฐและการปกครองส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาคที่เข้มแข็งได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “จังหวัดนิยม” ขึ้นโดยการรวมศูนย์อำนาจการเมืองและทรัพยากรมาอยู่ที่ตัวจังหวัดในเขตเมือง การสร้างทีมฟุตบอลในต่างจังหวัดจึงเกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ภายในเขตจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือนายทุนระดับจังหวัดผ่านองค์กรอย่างสมาคมกีฬาจังหวัดเห็นได้ชัดว่าการประสบความสำเร็จของทีมเกิดขึ้นจากความมีประสิทธิภาพของเครือข่ายดังกล่าว ไปด้วย จังหวัดนิยมจึงไม่ได้เป็นท้องถิ่นนิยมแบบที่มักจะอ้างถึงกัน แต่กลับเป็นการจรรโลงอุดมการณ์การเมืองของรัฐมากกว่า
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร