Sufficiency Economy as an Economic Governance Theory: A Theoretical Examination and Conceptualization

ผู้แต่ง

  • Surasak Chaithanakij Faculty of Graduate Studies, Mahidol University

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจพอเพียง ธรรมาภิบาลเศรษฐกิจ ทฤษฎีตรีมิติ

บทคัดย่อ

          แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเดิม ถูกเข้าใจเพียงว่าเป็นเพียงกลวิธีของการบรรเทาผลกระทบของปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยเมื่อหลายทศวรรษก่อน เมื่อไม่นานมานี้เองที่นักวิชาการเริ่มสามารถทำความเข้าใจว่า แท้จริงแล้วมันเป็นแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเหมาะสม ทั้งในแง่การเป็นวิถีทางและเป้าหมายได้ในตัวเองสำหรับบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคมประเทศนำไปปฏิบัติใช้ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด แต่ด้วยองค์ประกอบในเรื่องความพอเพียงนี้เอง ชักนำให้เกิดข้อกังขาจากนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ในเรื่องความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ แต่เมื่อการศึกษาภายในองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งคือการยับยั้งชั่งใจ ได้เปิดเผยให้เห็นหลักการสำคัญของการป้องกันการหลงไปในการแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้นจนเกินสมควร เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด และในแง่นี้เองที่ทำให้เศรษฐกิจพอเพียงมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับแนวคิดธรรมาภิบาลเศรษฐกิจตรีมิติ และควรค่าสำหรับการศึกษาในแง่มุมนี้ แนวคดิ ธรรมาภิบาลตรีมิติได้เคยถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาวิเคราะห์ระบบธรรมาภิบาลอย่างได้ผลน่าพอใจ เนื้อหาหลักของบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเอาแนวคิดธรรมาภิบาลตรีมิติ พร้อมกับเศรษฐศาสตร์ค่าธุรกรรมและทฤษฎีตัวแทนใช้เป็นกรอบเพื่อประเมินแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อตัดสินคุณสมบัติของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะของการเป็นทฤษฎีธรรมาภิบาลเศรษฐกิจ ผลการประเมินชี้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับทฤษฎีธรรมาภิบาลเศรษฐกิจตรีมิติ มากกว่ากับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เศรษฐศาสตร์ค่าธุรกรรม และทฤษฎีตัวแทนทำให้ควรที่จะมีการศึกษาแนวคิดนี้ต่อเนื่องไปในแง่ของการเป็นทฤษฎีธรรมาภิบาลเศรษฐกิจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22