ภูมิทัศน์ข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัล
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์รายการข่าว, ข่าวภาคค่ำ, ทีวีดิจิทัลบทคัดย่อ
ภูมิทัศน์ข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิทัศน์รายการข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัล ผู้วิจัยทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการศึกษารูปแบบรายการประเด็นข่าว เนื้อหา วิธีการนำเสนอและเทคโนโลยีการสื่อสาร แหล่งที่มาประเด็นและแหล่งข่าวและความรับผิดชอบต่อสังคมของรายการข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัล โดยคัดเลือกกรณีศึกษาเป็นรายการข่าวภาคค่ำ 3 รายการ ประเด็นเด็ด 7 สี, ข่าว 3 มิติ, ไทยรัฐเจาะประเด็น ส่วนที่หนึ่งวิเคราะห์ข้อมูลรายการข่าวภาคค่ำ ส่วนที่สองสัมภาษณ์เชิงลึก บรรณาธิการข่าว โปรดิวเซอร์ผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าว จากนั้นผู้วิจัยอภิปรายผลและนำเสนอข้อมูล ด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
การวิจัยพบว่ารายการข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัลในแง่เศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นไปตามหลักทุนนิยม คำนึงถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เรตติ้งรายการข่าว เม็ดเงินโฆษณา ผลกำไรของสถานีทีวีดิจิทัล ซึ่งส่งผลต่อการกำหนดรูปแบบรายการข่าวภาคค่ำและการทำงานของกองบรรณาธิการข่าว โดยพบว่าเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ส่งผลให้ภูมิทัศน์รายการข่าวภาคค่ำยุคทีวีดิจิทัลเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1.ด้านรูปแบบรายการ ทันต่อเหตุการณ์ มีสีสัน ตื่นเต้นเร้าใจ นำเสนอภาพเหตุการณ์จริง 2.ประเด็นข่าวและเนื้อหา ใช้รูปแบบวิเคราะห์เจาะลึกที่หลากหลายและนำเสนอต่อเนื่องเป็นซีรีย์ 3.ด้านวิธีนำเสนอพบว่า นิยมนำเสนอข่าวแบบเรียลลิตี้ และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น เครื่อง LiveU เทคโนโลยีส่งสัญญาณภาพผ่านเครือข่าย 4G, อิมเมอร์ซีฟ กราฟฟิก, อินโฟกราฟฟิก, โดรนถ่ายภาพ และ 4.ด้านแหล่งที่มาประเด็นและแหล่งข่าวเป็นแหล่งข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์ คลิปวีดีโอ, เฟสบุ๊ค, อินสตาแกรม, ผู้ชมรายการแจ้งเบาะแสเข้ามายังรายการ, ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ต่อยอดและแตกประเด็นข่าวเด่นรอบวัน
ผลวิจัยพบว่ารายการข่าวภาคค่ำทั้ง 3 รายการให้ความสำคัญกับประเด็นจริยธรรม จรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง สมดุลและเสมอภาค อ้างอิงแหล่งที่มา เซ็นเซอร์ภาพศพภาพผู้เสียหาย ปกปิดใบหน้า ชื่อสกุล โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร