การปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เบญจภรณ์ จอมสง่าวงศ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การค้ามนุษย์ในไทย รูปแบบการค้ามนุษย์ กองบังคับการปราบปราม การค้ามนุษย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง “ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านการสืบสวนด้านสอบสวนและด้านการจับกุม และเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคและเป็นแนวทางการพัฒนา ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ บก.ปคม. จำนวน 300 คน (ข้อมูลกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์, 2557) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11 โดยใช้ค่าอัตราส่วนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักความคิดเห็นของประชากรที่ศึกษาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และค่าการกระจายน้ำหนักของคำตอบ โดยการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.7 ส่วนที่เหลือเป็นเพศหญิง ร้อยละ 44.3 ส่วนใหญ่มีอายุ 30 - 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.3 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.3 ระดับตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับตำแหน่งรองสารวัตรคิดเป็นร้อยละ 41.0 ประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้เสียหาย/เหยื่อที่เป็นเด็กและสตรี 3 - 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.7 ความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก (x ¯= 3.60) เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านการสืบสวนมีระดับมาก (x ¯= 3.71) รองลงมาได้แก่ ด้านการจับกุม (x ¯= 3.58) และด้านการสอบสวน (x ¯= 3.51) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22