นัยยะทางการทูตภัยพิบัติของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้แต่ง

  • พรรณวดี ชัยกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การถ่วงดุลทางอำนาจอย่างอ่อน, ภัยคุกคามรูปแบบใหม่, การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการทูตเชิงจัดการด้านภัยพิบัติ

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ท่าทีการเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติของญี่ปุ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยใช้แนวคิดการถ่วงดุลทางอำนาจอย่างอ่อน (Soft Balancing) เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลังสงครามเย็นที่แตกต่างไปจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญมากขึ้นผ่านการดำเนินยุทธศาสตร์ทหารในวิธีการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธ (non-comt) มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้ประเทศในภูมิภาคไม่รู้สึกว่าญี่ปุ่นเป็นภัยคุกคามในขณะเดียวกัน การดำเนินยุทธศาสตร์ด้านนี้ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของญี่ปุ่นให้ประเทศในภูมิภาคมีความรู้สึกไว้วางใจอย่างเป็นมิตรมากกว่าจีนที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า บทบาทที่โดดเด่นขึ้นของจีนและความขัดแย้งของจีนที่มีต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรุนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นแรงผลักดันและเป็นโอกาสที่ดีสำหรับญี่ปุ่นที่จะแสดงบทบาทนำผ่านศักยภาพที่มีและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติในภูมิภาคเพื่อถ่วงดุลทางอำนาจต่อจีนทางอ้อม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22