การลดทอนภาพเหมารวมตามลักษณะตัวละครแบบคู่ตรงข้าม ด้วยศิลปะการแต่งหน้า ในละครเรื่องสามีตีตรา

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ คำนนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ภาพเหมารวม ศิลปะการแต่งหน้า ลักษณะตัวละคร คู่ตรงข้าม

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายด้วยการแต่งหน้าตัวละครเอกในเรื่องสามีตีตรา โดยใช้แนวคิดภาพตัวแทน (Representation) และแนวคิดความสัมพันธ์แบบคู่ที่ตรงกันข้าม (binary opposition) เพื่อนำเสนอถึงความแตกต่างในการสื่อความหมายด้วยการแต่งหน้าตัวละครเอก ผลการศึกษาพบว่าการสื่อความหมายด้วยการแต่งหน้าตัวละครเอกในเรื่องสามีตีตรา เป็นการลดทอนความสำคัญของภาพตายตัวหรือภาพเหมารวม (Stereotypes) ของตัวละครเอกหญิงในสื่อละครโทรทัศน์ไทยโดยสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ“ตัวบท” (Text) และ “บริบท” (Context) โดยนางเอกไม่ได้แต่งหน้าในลักษณะของนางเอก และนางร้ายไม่ได้แต่งหน้าลักษณะนางร้าย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะคู่ตรงข้ามและและลดทอนภาพตายตัวหรือภาพเหมารวมของตัวละครเอกด้วยศิลปะการแต่งหน้าอย่างชัดเจน เป็นการเปิดมิติหมายทางด้านการสื่อความหมายของตัวละครเอกในสื่อละครโทรทัศน์ไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22