การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่อง “เพศ” ในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • จีราพัชร์ ใจเที่ยงธรรม

คำสำคัญ:

เพศสภาพ เพศวิถี วาทกรรม หนังสือเรียน ฟูโกต์

บทคัดย่อ

             บทความนี้มุ่งเสนอการวิเคราะห์วาทกรรมเรื่อง “เพศสภาพ” และ “เพศวิถี” ในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ชุดวิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หลักสูตร พ.ศ. 2551 โดยวิเคราะห์เนื้อหาบทประพันธ์ซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวาทกรรม ด้วยฐานแนวคิดของมิเชลฟูโกต์ ที่ว่า “ความรู้คืออำนาจ” ผลการศึกษาพบว่าแม้โครงเรื่อง ฉาก และกระบวนทัศน์ของตัวละครแสดงถึงสังคมยุคโลกาภิวัตน์ แต่วาทกรรมเรื่องเพศสภาพและเพศวิถีในหนังสือเรียนชุดนี้ก็ยังคงผลิตซ้ำวาทกรรมในกรอบจารีตไทยซึ่งประกอบสร้างมาจากแนวคิดปิตาธิปไตยและแนวคิดยุควิกตอเรียน ซึ่งชายมีอำนาจเหนือหญิง และหญิงถูกควบคุมเพศสภาพและเพศวิถีมากกว่าชาย ส่วนบทบาททางเพศสภาพและภาพอุดมคติที่สังคมคาดหวังพบว่าหญิงต้องเป็นกุลสตรี ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษ ซึ่งในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เน้นปลูกฝังวาทกรรมนี้แก่พลเมืองไทย นอกจากนี้ในหนังสือเรียนวิวิธภาษายังปรากฏวาทกรรมเพศวิถีแบบต่างเพศเท่านั้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22