รูปแบบการค้าของหลวงพระบางในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ผู้แต่ง

  • ศิวริน เลิศภูษิต วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

หลวงพระบาง, การค้า, คริสต์ศตวรรษ 19

บทคัดย่อ

               เมืองหลวงพระบางนอกจากจะมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของอาณาจักรล้านช้างแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภาคพื้นทวีปที่สำคัญในช่วงคริสศตวรรษที่ 16-17 มีการทำการค้ากับรัฐจารีตข้างเคียง คือ อยุธยาและกัมพูชาหลวงพระบางอาศัยสินค้าของป่าจากการค้าภายในระหว่างกลุ่มลาวลุ่ม-ลาวเทิง และนำสินค้าของป่าส่งขายต่อไปยังรัฐการค้าอื่นๆ ต่อมาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นช่วงต่อระหว่างรัฐจารีตกับรัฐชาติ ลัทธิการล่าอาณานิคมค่อยๆขยายตัวเข้ามา เกิดความต้องการสินค้าและเส้นทางการค้าใหม่ อาทิ การเกิดเมืองมะละแหม่ง แม้ว่าเส้นทางการค้าและเมืองศูนย์กลางการค้าจะเปลี่ยนแปลงตามบริบท แต่หลวงพระบางก็ยังคงอาศัยรูปแบบการค้าที่เป็นฐานรากสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนระหว่างลาวลุ่ม -ลาวเทิง และส่งผ่านสินค้าผ่านพ่อค้าวัวต่าง ทั้งในเส้นทางระยะยาว ได้แก่ หลวงพระบาง-อุตรดิตถ์-กรุงเทพ หลวงพระบาง-น่าน-ตาก-มะละแหม่ง หลวงพระบาง-เชียงแสน-เชียงรุ้ง และหลวงพระบาง-หนองคาย-พนมเปญ หรือเส้นทางระยะสั้น ได้แก่ หลวงพระบาง-ท่าอิฐ หลวงพระบาง-เชียงใหม่ เป็นต้น รูปแบบการค้าของหลวงพระบางในคริสศตวรรษที่ 19 อาจไม่ได้เป็นศูนย์กลางทางการค้าเหมือนดั่งในยุคการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17) แต่ได้กลายสภาพไปเป็นรัฐกึ่งเมืองท่าตามบริบทการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคพื้นทวีป ก่อนที่จะถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาณานิคมโดยฝรั่งเศสในที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22