กองทุนพัฒนาสตรีแก้ไขปัญหาความต้องการของสตรีจริงหรือ
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจสตรี, ความเสมอภาคหญิงชาย, ความต้องการ, เชิงปฏิบัติความต้องการเชิงยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอว่านโยบายสาธารณะที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อสตรีเป็นการเฉพาะสามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาสตรีได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบัน สตรีได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนด แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงต้นเหตุของปัญหา
ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาหนี้นอกระบบ คนในครอบครัวติดยาเสพติดปัญหาของลูกวัยรุ่น ความรุนแรงในครอบครัวการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐานขององค์กรอนามัยโลกและมีภาระบทบาทหลายด้าน (2) ปัญหาที่ผู้หญิงเผชิญอยู่เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมไทยที่มีจารีต ประเพณี และค่านิยมที่ถูกกำหนดโดยผู้ชาย ทำให้สร้างปัญหาให้แก่ผู้หญิงและความต้องการของผู้หญิงไม่ได้รับการแก้ไข (3) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของ สตรีได้เพียงเฉพาะหน้า (Practical Needs) แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับยุทธศาสตร์ได้ (Strategic Needs) เนื่องจากผู้หญิงยังขาดโอกาสในการก้าวไปสู่การมีสถานภาพที่เท่าเทียมกับผู้ชาย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร