การล่มสลายของเจ้าผู้ครองนครในหัวเมืองล้านนาในทางการเมืองเศรษฐกิจ : เมืองนครลำปาง
คำสำคัญ:
หัวเมืองประเทศราช, มณฑลเทศาภิบาล, ลำปางบทคัดย่อ
บทความเรื่อง การล่มสลายของเจ้าผู้ครองนครในหัวเมืองล้านนากรณีเมืองนครลำปาง มุ่งแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ภายใต้การประสบความสำเร็จในการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางของสยามผ่านระบบการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” พร้อมกับการสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ของเจ้าผู้ครองนครลำปาง แต่กลับได้มาซึ่งบรรดาศักดิ์และเงินเดือนพระราชทาน จึงทำให้มีสถานภาพของเจ้าผู้ครองนครเป็นเสมือนข้าราชการของสยามในขณะนั้นสยามจัดการปฏิรูปการปกครองในดินแดนล้านนาอย่างจริงจังตั้งแต่ ค.ศ. 1884 ผลของการปฏิรูปการปกครองก่อ่ให้เกิดการเพิ่มบทบาทของข้าหลวงจากส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะเดียวกันก็ลดบทบาทของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ในหัวเมืองล้านนาลงด้วย จนกระทั่งปี ค.ศ. 1922 เมื่อเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย “เจ้าบุญวาทย์วงค์มานิตย์” ถึงแก่พิราลัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครภาคเหนือ บทความนี้มีสมมติฐานที่ใช้ในการวิจัยคือ การล่มสลายของเจ้าผู้ครองเมืองนครลำปางเกิดจากการเข้ามาของระบบทุนนิยม บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นขบวนการสูญเสียอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของเจ้านายฝ่ายเหนือโดยเฉพาะนครลำปางในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการในการรวมอำนาจของสยามโดยละเอียดและวิเคราะห์สาเหตุการสลายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของเจ้าผู้ครองนครในภาคเหนือ นอกจากการปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่เข้ามากระทบแล้วกระตุ้นให้เจ้านายฝ่ายเหนือล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว คือ “ระบบทุนนิยม” ที่ทะลักเข้าสู่ภาคเหนือในขณะนั้นทั้งในรูปของการส่งออกไม้สักและ การนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภคจากต่างประเทศ จนกระทั่งเจ้าหัวเมืองประเทศราชไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่อาศัยเงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จึงนำไปสู่การแสวงหาแหล่งทุนใหม่ภายใต้การขอกู้เงินจากพระคลังข้างที่ของพระมหากษัตริย์สยาม ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนโดยการแสดงออกถึงความจงรักภักดีในฐานะลูกหนี้ หรือ ผู้ถูกอุปถัมภ์ จนกระทั่งล่มสลายในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร