นวัตกรรมแผนที่ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ ในยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดิสสะมาน นักวิชาการชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

บทคัดย่อ

กระแสแนวคิดประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลในยุคสมัยใหม่ ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐที่จำเป็นต้องปฏิรูปการบริหารงานให้ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชน  เช่น การนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ยังเป็นแนวคิดสำคัญในยุค 4.0 มาใช้ในการจัดบริการสาธารณะ แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นั้นมีหลักพื้นฐานสำคัญหลายประการเช่น การบริหารงานภาครัฐแบบเน้นการปฏิบัติเป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ มารองรับอาทิ ทางเลือกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการภาครัฐให้เข้าถึงประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน การบริหารงานภาครัฐในยุค 4.0 ภาครัฐจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกในการดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้ จึงต้องคล่องตัวและสามารถขับเคลื่อนภารกิจพิเศษได้ (Agenda- based) และนำเทคโนโลยีพลิกโฉมระบบราชการสู่ยุค 4.0 อย่างแท้จริง บทความนี้เป็นบทความเชิงวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแนวคิดการติดตามการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในประเทศไทยอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยจะมีมิติในการตรวจสอบคือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่าในการตรวจสอบค้นหาหน่วยงานที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลที่ดี และเป็นการศึกษาเพื่อนำไปสู่การการสร้าง Platform ในรูปแบบของแผนที่ธรรมาภิบาล (Good Governance Mapping) ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือเชิงนวัตกรรมโดยมีฐานการรองรับจากงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า สำหรับติดตามและประเมินผลการนำหลัก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20