การก่อตัวของวัฒนธรรม กระแสเคป๊อปและสินค้าวัฒนธรรม ในฐานะอาวุธทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • อภัสณา อัศวรังสิตแสง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การส่งออกสินค้าเชิงวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในปัจจุบัน กระแสฮันรยู (Hallyu) และวัฒนธรรมเคป๊อปได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสินค้าเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเคป๊อบ (K-Pop Wave) การเติบโตของกระแสเคป๊อปได้แพร่กระจายกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้ให้กลายเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) โดยฝังวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้เข้าไปในสินค้าและบริการต่าง ๆ กลายมาเป็นการส่งออกสินค้าวัฒนธรรม (Cultural Products) ที่หลอมรวมวัฒนธรรมความเป็นชาติเกาหลีเข้าไปโดยปริยายกระแสเคป๊อปที่กำลังเติบโตในปัจจุบันนั้นได้ถูกสั่งสมและหลอมรวมผสมผสานระหว่างความเป็นนานาชาติให้เข้ากับความเป็นชาติเกาหลีเพื่อการส่งออกซึ่งได้กลายมาเป็นสินค้าประจำชาติ (National Branding) จากการการพัฒนาภายในอุตสาหกรรมรวมไปถึงสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้รัฐบาลเกาหลีได้มองเห็นความสำเร็จของกระแสเคป๊อปและได้ใช้ประโยชน์ทางวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จนี้เพื่อส่งเสริมตราสินค้าเกาหลีโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีการสนับสนุนการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมเคป๊อปอย่างจริงจัง การผูกโยงสายสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและอุตสาหกรรมเคป๊อปได้ทำให้ทั้งสององค์ประกอบใกล้ชิดกันมากขึ้นและทำให้อุตสาหกรรมเคป๊อปกลายเป็นสินค้าวัฒนธรรมอันดับต้น ๆ ในการแสดงออกถึงความเป็นเกาหลีในสายตาทั่วโลก แม้ว่าการสนับสนุนจากรัฐบาลจะช่วยให้อุตสาหกรรมเคป๊อปเติบโตได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าการสนับสนุนดังกล่าวทำให้สินค้าเคป๊อปกลายมาเป็นอาวุธทางวัฒนธรรม (Cultural Weapon) ที่มักจะถูกใช้ในทางการเมือง ผ่านการใช้วัฒนธรรมเคป๊อปนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นชาติเกาหลีเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่ศิลปินเคป๊อปมักถูกใช้เป็นสินค้าของการทูตทางวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ทำให้กลายเป็นเป้าสายตาของการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศและกลายเป็นสินค้าเปราะบางที่ถูกเพ่งเล็งเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20