ดนตรีกับการเมือง: คุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ของศิลปิน
บทคัดย่อ
การนำแนวคิดทางการเมืองเข้ามาปรับใช้ศึกษาดนตรีย่อมช่วยให้เข้าใจดนตรีมากยิ่งขึ้น มาร์กซิสต์สำนักออโตโนเมียได้นำเสนอแนวคิดว่าศิลปินคือแรงงานในระบบทุนนิยมรูปแบบหนึ่ง ทำให้เกิดการทำความเข้าใจศิลปินภายใต้ระบบทุนนิยม ซึ่งนักดนตรีก็ถือเป็นแรงงานประเภทหนึ่งในระบบทุนนิยม ขณะที่ศิลปินทำงานสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันศิลปินก็ถูกขูดรีดเช่นเดียวกันกับแรงงานทั่วไปในสังคม การมีรัฐสวัสดิการจึงช่วยคลี่คลายปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของศิลปิน ปัจจุบันอุตสาหกรรมได้เสนอแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าแก่อุตสาหกรรม โดยได้ถือว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดและมีค่าที่สุดในทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากจอห์น ฮาว์กินส์ (John Howkins) ที่ได้นำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์คือการทำธุรกิจด้านความคิด เปลี่ยนความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามรัฐสวัสดิการและเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีฝ่ายการเมืองเข้ามาสนับสนุน หากสังคมมีรัฐสวัสดิการย่อมส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่งด้วย
จากเหตุการณ์โควิด-19 ได้เผยให้เห็นถึงปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและปัญหาคุณภาพชีวิตของนักดนตรีได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความตระหนักและพื้นที่ทางวิชาการในการพูดคุยถึงประเด็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า และสร้างความตระหนักว่าการทำให้ดนตรีกับการเมืองเป็นเนื้อเดียวกันไม่ใช่เรื่องไกลตัว
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร