นัยทางกฎหมายของพินัยกรรมชีวิตตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
บทคัดย่อ
สิทธิในการทำพินัยกรรมชีวิตที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 นั้นดูเหมือนจะเป็นสิทธิในการกำหนดชีวิตของปัจเจกบุคคล แต่แท้ที่จริงแล้วมีการตีความการใช้กฎหมายให้มีแง่มุมบังคับใช้ที่คับแคบลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยการตีความโดยนัยนี้ดูจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจัดการระบบสาธารณสุขของบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า อย่างไรก็ดีการตีความลักษณะนี้กลับพบว่ายังคงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการระบบสาธารณสุขได้เช่นเดิม ความมุ่งหวังที่ให้พินัยกรรมชีวิตเป็นเครื่องมือส่งเสริมสิทธิของปัจเจกบุคคลและอัตตาณัติจึงดูจะไม่ใช่คำกล่าวที่ถูกต้องนัก
เนื่องจากการศึกษาพบว่าอัตตาณัติก็ยังถูกประเมินลำดับชั้นในเชิงคุณค่าเอาไว้ต่ำกว่าปทัสถานทางกฎหมายซึ่งอิงกับบรรทัดฐานทางสังคมอีกชั้นหนึ่ง ข้อเท็จจริงจำเพาะหนึ่ง ๆ ในสังคมนั้นจะถูกตัดสินว่าจริงหรือเท็จ ถูกหรือผิด ก็ขึ้นกับเครือข่ายของความชอบธรรมที่อาศัยอำนาจและความรู้ซึ่งมีปฏิกิริยาระหว่างกันจนเกิดผลลัพธ์คือการประกอบสร้างขึ้นของระบอบแห่งความจริง (regime of truth) และระบบกฎหมายก็เป็นหนึ่งในเครือข่ายของอำนาจและความรู้ที่สำคัญอันมีผลต่อประเด็นเรื่องสิทธิในการกำหนดตนเองของปัจเจกบุคคลในสังคม การศึกษาเกี่ยวกับพินัยกรรมชีวิตนี้จึงทำให้เห็นว่ายังมีช่องว่างในการใช้และการตีความกฎหมายซึ่งสามารถแก้ไขปรับปรุงเพื่อสนับสนุนสิทธิของปัจเจกบุคคลให้มากขึ้นได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร