The Notion of the Self and the Issue of Methodology on Social Media Research
คำสำคัญ:
ตัวตน, สื่อสังคมออนไลน์, กรอบคิดทางปรัชญา, สหวิทยาการศึกษา, ระเบียบวิธีวิจัยบทคัดย่อ
สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคมของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยจุดเด่นหลักของสื่อสังคมออนไลน์คือความเป็นสังคมและความเชื่อมโยงกัน ความเป็นตัวตนของผู้ใช้แต่ละคนจึงเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มนี้ซึ่งยังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กรอบคิดความเป็นตัวตนดังกล่าวเป็นกรอบคิดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในขนบวิชาปรัชญาตะวันตก แต่ตัวกรอบคิดในด้านนี้กลับไม่ได้รับตวามสนใจนักในแวดวงการศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาสื่อสังคมออนไลน์โดยมากแล้วสนใจการใช้สื่อและผลกระทบต่อผู้ใช้ เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์เป็นที่ตั้ง โดยมีจำนวนน้อยที่สนใจธรรมชาติในตัวตนของผู้ใช้หรือสนใจตัวตนของผู้ใช้ในระดับอภิปรัชญาแม้กรอบคิดตัวตนจะเป็นกรอบคิดทางปรัชญาก็ตาม บทความนี้มุ่งจะเชื่อมโยงงานศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ว่าแม้มีวัตถุศึกษาหลักเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแต่ก็มีฐานคิดที่เกี่ยวข้องกับกรอบคิดทางปรัชญาโดยพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมให้ระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์มีลักษณะเป็นสหวิทยาการมากขึ้น กล่าวคือให้ความสำคัญกับกรอบคิดในระดับปรัชญาและหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเท่าเทียมกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร