ประโยคในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย

ผู้แต่ง

  • Wanwanat Aroonroek -

คำสำคัญ:

ประโยค, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยคในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับประโยคทั้งการแบ่งประโยคตามโครงสร้างและการแบ่งประโยคตามเจตนาในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ศ. 2564 ที่รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ทุกมาตรา โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มี 323 มาตรา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มี 468 มาตรา รวมทั้งสิ้น 791 มาตรา

ผลการศึกษาพบว่า ประโยคในประมวลกฎหมายทั้งสองฉบับมี 2 ลักษณะ คือ 1) ประโยคทั่วไป ได้แก่ ประโยคพื้นฐาน ประโยคที่มีอนุประโยคอิสระ ประโยคที่มีอนุประโยคไม่อิสระ และ 2) ประโยคที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ประโยคคำสั่ง “ให้” หรือ “ห้ามมิให้/ห้ามไม่ให้” ประโยคกรรม ประโยคเน้นเรื่อง ประโยคสหสัมพัทธ์ และประโยคที่ปรากฏนามวลีแปลง ประโยคเหล่านี้อาจทำให้เนื้อความมีความชัดเจนและเชื่อมโยงกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายได้ละเอียดชัดเจนมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-04

How to Cite

Aroonroek, W. (2023). ประโยคในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย. วารสารสหวิทยาการ, 19(2), 42–74. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/261324