ชีวิตและความตายในทัศนะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง: การวิเคราะห์เชิงปรัชญา
คำสำคัญ:
ชีวิต, ความตาย, ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง, ปรัชญาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตและความตายในทัศนะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง โดยอาศัยมโนทัศน์เชิงปรัชญามาเป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ในพื้นที่เขตเมือง (กรุงเทพมหานครและปทุมธานี) และเขตชนบท (หนองบัวลำภู) รวม 6 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ชีวิตในทัศนะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมองว่าชีวิตวางอยู่บนกฎแห่งกรรม และชีวิตคือการต่อสู้ดิ้นรน ส่วนความตายในทัศนะของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมองว่าความตายเป็นสัจธรรมของชีวิตที่ไม่สามารถหลีกหนีได้และพร้อมเผชิญหน้ากับความตายที่จะเกิดขึ้น ผู้สูงอายุมีความหวังในโลกหน้า คือ ส่วนใหญ่อยากเกิดในครอบครัวที่ดี ที่มีคนเลี้ยงดูในบั้นปลายของชีวิต และบางส่วนปรารถนาอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เพื่อค้นพบความสงบสุขที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้สูงอายุจะดำเนินชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากภายใต้ข้อจำกัดในชีวิต แต่ผู้สูงอายุก็ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด โดยเลือกที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดในชีวิตและกำหนดชีวิตด้วยตนเอง สอดคล้องกับอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre) ที่ว่ามนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิตอย่างที่ตนเองต้องการจะเป็นได้อย่างแท้จริง และการตระหนักถึงความตายทำให้เห็นความหมายของการมีชีวิตอยู่
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร