บทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นในสมัยอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึง สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2154–2199)
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการแรกเพื่อศึกษาความเป็นมาของการเข้ามามีบทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ประการที่สอง เพื่อศึกษาบทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นสมัยอยุธยาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และประการที่สามเพื่อศึกษาการสิ้นสุดบทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น วิธีการศึกษาใช้การศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรองเป็นข้อมูลสำคัญ และนำเสนอโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) กรมอาสาญี่ปุ่นเริ่มมีบทบาทมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ โดยมีเอกสารระบุไว้อย่างชัดเจน และมีบทบาทโดดเด่นมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2) บทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นที่พบ ได้แก่ การสนับสนุนผู้ปกครองอยุธยา การใช้กำลังกดดัน การต่อรองกับผู้มีอำนาจทางการเมืองและบทบาทในการกำหนดตัวผู้ปกครองอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (3) บทบาทของกรมอาสาญี่ปุ่นเริ่มลดน้อยลงในช่วงปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากพระองค์ได้ทรงขับไล่ชาวญี่ปุ่นออกจากอยุธยาจนหมดสิ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร