ระดับของการตีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กิตติวินท์ เดชชวนากร

คำสำคัญ:

ระดับการตีตรา, การตีตราทางเพศ, นักเรียนข้ามเพศ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง "ระดับของการดีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่" มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสถานการณ์การตีตราทางเพศของนักเรียนข้ามเพศในโรงเรียน และทำความเข้าใจถึงลักษณะการเกิดการดีตราทางเพศภาวะในโรงเรียน รวมถึงความท้าทายและผลกระทบที่กลุ่มนักเรียนข้ามเพศต้องเผชิญจากการถูกตีตรา ซึ่งอธิบายโดยเชื่อมโยงกับแนวคิดระดับของการดีตราที่มีต่อการกำหนดเพศภาวะของ Link et al. (1987) ได้แก่ 1) การตีตราเชิงโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงบรรทัตฐานของสังคมและนโยบายของสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงทรัพยากรของกลุ่มที่ถูกตีตรา 2) การตีตราเชิงปฏิสัมพันธ์ หมายถึงรูปแบบที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำการตีตรา
เช่น การล่วงละเมิดทางวาจา ความรุนแรงทางร่างกาย และการทำร้ายทางเพศ อันเนื่องมาจากอัตลักษณ์ทางเพศหรือการแสดงออกทางเพศ และ 3) การดีตราเชิงปัจเจกชน หมายถึงความรู้สึกของบุคคลที่มีเกี่ยวกับตนเอง หรือความคิด ความเชื่อที่บุคคลอื่นมีต่อเขาว่าเป็นอย่างไร ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าการถูกดีตราทางเพศทำให้กลุ่มนักเรียนข้ามเพศต้องตกอยู่ในสภาพที่ไร้ซึ่งอำนาจในการเลือกและตัดสินใจเรื่องเพศของตนเอง กลุ่มนักเรียนข้ามเพศถูกผลักกลายเป็นคนชายขอบ เพียงแค่พฤติกรรมทางเพศไม่เป็นไปตามแบบแผนของคนส่วนใหญ่ในสังคม นำมาซึ่งผลต่อการกำหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกในอนาคตของนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). อึ้ง!! เด็กไทยรังแกกันเอง ติดอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.dmh.go.th/news-

dmh/view.asp?id=27511

กิตติวินท์ เดชชวนากร. (2563). การดีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในเชียงใหม่. (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

คอลัมน์คุยเรื่องเพศกับพระชาย. (2556). ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีลูกศิษย์เป็นกะเทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https:/www.teenpath.net/content.asp?ID=17653#.YombXGhBziU

ไทยรัฐออนไลน์. (2560). เพศที่สามกับสังคมไทย สื่อสร้างสรรค์หรือทำลายภาพลักษณ์ สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27511

นิภาพร ทับหุ่น. (2556). อย่า "รังแก" ฉัน. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/550542

บีบีซีนิวส์ไทย (2561). กรณีรังแกเต็ก 8 ขวบ: ไทยมีการรังแกกันในโรงเรียนสูง เป็นอันดับ 2 ของโลก. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-45837661

พนม เกตุมาน. (2550). พัฒนาการทางเพศและปัญหาทางเพศในเด็กและวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.psyclin.co.th/new_page_76.htm

มหาวิทยาลัยมหิคล. (2557). การรังแกต่อกลุ่มนักเรียนที่เป็นหรือถูกมองว่าเป็นคนข้ามเพศหรือคนรักเพศเดียวกันในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา: รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการการป้องกันใน 5 จังหวัดของประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิแพธทูเฮลท์. (2562). สพฐ. จับมือแพธทูเฮลห์ ร่วมด้วย สสส. ขับเคลื่อนครูเพศวิถีศึกษาแบบออนไลน์ เพื่อสร้างสรรค์นักเรียนคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563, จาก https://startup.path2health.or.th/3231

รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด. (2558). นักเรียน LBGT ถูกรังแก แรงถึงแกล้งข่มขืน บางคนคิดฆ่าตัวตาย-ครูมองแค่เด็กเล่นกัน. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. จาก http://www.tcjthai.com/news/2015/03/scoop/5710

วอยซ์ออนไลน์. (2558). 'ตุ๊ด เกย์ กะเทย ทอม ดี้' เรียกอย่างไรไม่เหยียดเพศ? สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.voicetv.co.th/read/156477

วิจิตร ว่องวารีทิพย์. (2559). ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย: บทวิเคราะห์แบบเรียนสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ.

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย. (2561). กลั่นแกล้งล้อเลียน ในโลกคนพิการที่มีความหลากหลายทางเพศ. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก https://waymagazine.org/bullying_disable_lgbta/

สปริงนิวส์. (2561). สกอตแลนด์จะเป็นประเทศแรกที่บรรจุหลักสูตร LGBT. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก https://www.springnews.co.th/news/380552

สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ. (2560). เพศภาวะและความหลากหลาย (เอกสารนำเสนอ). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.rcrc-resilience-southeastasia.org/wp-content/uploads/2018/01/Thai-Red-Cross_SSD-training_GD-handouts-1.pdf

หริณวิทย์ กนกศิลปธรรม. (2556). ความหลากหลายทางเพศในมุมมองของจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์และพุทธศาสนา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 101-122.

Addington, L. A. (2017). What is the effect of being bullied?: Comparing direct harms of bullying experienced by LGB and non-LGB students. Journal of Family Strengths, 17(2), 1-18. Retrieved May 21,2019, from https://digitalcommons.library.tmc.edu/cgi/viewcontent.cgi?art"le=1356&context-=jifs

Link B. G, Cullen F. T., Frank J.,& Wozniak J. F. (1987). The social rejection of former mental patients: Understanding why labels matter. American Journal of Sociology, 92(6), 1461-1500.

Link, B. G., & Phelan, J. C. (1999). Labeling and stigma. In C. S. Aneshensel & J. C. Phelan (Eds.), Handbook of sociology of mental health (pp. 481-494). Kluwer Academic Publishers.

World Bank. (2013). Inclusion matters: The foundation for shared prosperity. Washington, DC: World Bank. Retrieved May 21, 2019, from https://www.shareweb.ch/site/DDLGN/Documents/InclusionMatters AdvanceEdition.pdf

World Health Organization. (1978). Mental disorders: Glossary and guide to their classification accordance with the ninety revision of diseases. Ganeva: World Health Organization. Retrieved May 21,2019, from https://iris.paho.org/handle/10665.2/44707?show-full

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12