ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร (ทิพย์โอสถ)
  • พระมหาสหัสษชัญญ์ รัตนสันติ

คำสำคัญ:

ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระไตรปิฎก ประกอบด้วย การรู้จักขยัน รู้จักเก็บรักษา การคบเพื่อนดี การรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความเพียร มีการวางแผนที่ดี รู้จักเป็นอยู่อย่างเหมาะสมกับฐานะของตน เพียรระวังยับยั้งบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น รู้จักรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้นไป สร้างหลักธรรมอิทธิบาทสี่ คือ ความยินดีในสิ่งที่ทำ ความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่ทำ เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ การหมั่นใช้สติปัญญาพิจารณาใคร่ครวญหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และช่วงจังหวะเวลา มีการวางแผน วัดผล ประเมินผล คิดวิธีแก้ไขปรับปรุงตนเอง นำสิ่งที่ได้มาทบทวนอีกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องและพัฒนาต่อไป การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมีคุณค่าสำคัญ ไม่ได้จำกัดการศึกษาในวงการพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่สามารถศึกษาแล้วนำมาเชื่อมโยงกับวิชาการได้หลากหลายศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระไตรปิฎกเพื่อความพอดีของชีวิต

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). 80 พรรษาเทิดไท้องค์ราชัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจ สร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). ทฤษฎีใหม่: มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

ประเวศ วะสี. (2541). ปาฐกถาป๋วย อึ้งภากรณ์ ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2541). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: มติชน.

อภิชัย พันธเสน. (2547). พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขปรับปรุง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12