คำยืมภาษาไทยเหนือและภาษาไทยมาตรฐานของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรรณวนัช อรุณฤกษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

Loanword, Shan language, Northern Thai, Standard Thai

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทคำยืมภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐานของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทใหญ่ จำนวนทั้งหมด 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยืมคำจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน จำนวน 10 หมวด ได้แก่ คำนาม คำลักษณนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทาน และ คำปฏิเสธ โดยใช้คำศัพท์ทั้งหมด 1,871 คำ แบ่งได้เป็นคำศัพท์ภาษาไทใหญ่จำนวน 836 คำ คำยืมภาษาไทยถิ่นเหนือจำนวน 733 คำ และคำยืมภาษาไทยมาตรฐานจำนวน 302 คำ ทั้งนี้คำยืมในภาษาไทใหญ่นั้นเป็นคำยืมที่มาจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ คำยืมที่เป็นคำนามมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือคำกริยา คำวิเศษณ์ หมวดคำเหล่านี้ล้วนเป็นคำหลัก ส่วนคำไวยากรณ์ ได้แก่ คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบุพบท คำเชื่อมคำลงท้าย คำอุทาน และคำปฏิเสธ ได้มีการยืมจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐานเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้นคำยืมเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาไทใหญ่ของคนในพื้นที่นี้ได้เป็นอย่างดี

References

จรรยา พนาวงค์ และอุไรวรรณ แก้วคำมูล. (2546). ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่นอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ม.ป.พ.

ซิ่วหง ฉิน. (2554). การเปลี่ยนแปลงของภาษาจ้วงอันเกิดจากภาวะสัมผัสภาษาจ้วงกับภาษาจีนกลาง. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/22245/3/xiuhong_qi.pdf

ฐิติกาญจน์ ใจไมตรี และอุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). การศึกษาการแปรคำศัพท์ในภาษาพวนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(45), 245-262.

พรรณิดา ขันธพัทธ์. (2020). การเปรียบเทียบคำยืมในภาษาไทใหญ่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 121-146.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2552). พจนานุกรมภาษาไทใหญ่-ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: แสงศิลป์.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(3), 121-134.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. (2564). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สกสค.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2556). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาไทดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(1), 149-173.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถวิทย์ รอดเจริญ, อุบลวรรณ สวนมาลี, และประเทือง ทินรัตน์. (2559). การศึกษาเชิงสำรวจ: การ สัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไตหย่า อำเภอซินผิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(46). 331-347.

McMahon, M.S. (1994). Understanding Language Change. Cambridge: Cambridge University Press.

Thomason, S. G. & Kaufman, T. (1988). Language contact, Creolization and Genetic Linguistics. Berkeley: University of California Press.

Thomason, S. G. (2001). Language contact: an introduction. Washington D.C.: Georgetown University press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

อรุณฤกษ์ ว. (2024). คำยืมภาษาไทยเหนือและภาษาไทยมาตรฐานของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการ, 21(2). สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/275483