รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Main Article Content

กันยารัตน์ โอโมริ
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 3) สร้างรูปแบบการพัฒนา 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสาร และประเมินด้วยแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน 2) ใช้แบบประเมินกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน เก็บข้อมูลโดยรับส่งแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ 3) การสัมภาษณ์บุคคลที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 5 คน และประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คนด้วยกระบวนการการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และ 4) ครู จำนวน 8 คน โดยใช้แบบทดสอบความรู้ เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 ทุกฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การมีจินตนาการ 4 ตัวชี้วัด 2) การมีความยืดหยุ่น 4 ตัวชี้วัด 3) การมีวิสัยทัศน์ 3 ตัวชี้วัด และ 4) การมีความคิดสร้างสรรค์ 3 ตัวชี้วัด
2. ภาพรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับแรก คือ การมีความคิดสร้างสรรค์
3. รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) จินตนาการ 3) วิสัยทัศน์ และ 4) ความยืดหยุ่น มีการพัฒนา 4 ขั้น ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 อบรม ขั้นที่ 3 ปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นที่ 4 ประเมินผล
4. ผลการประเมินหลังเข้าร่วมพัฒนาตามรูปแบบสูงกว่าก่อนพัฒนาตามรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
โอโมริ ก., เรืองสุวรรณ ช. ., & ดวงชาทม ก. . (2024). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 24(4), 29–44. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/276020
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คุณาวุฒิ สิงห์ทอง และธรินธร นามวรรณ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 161-168.

ฉัตรชัย ดวงแก้ว. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการพัฒนาตนเองของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 62(1), 99-108.

ตรีนุช เทียนทอง. (2564). นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564-2565. เข้าถึงได้จาก https://moe360.blog/2021/06/30/education-management-policy/

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พุทธชาติ ภูจอมจิตร. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 11(1), 336-347.

พงษ์ศักดิ์ บุญเกื้อ. (2565). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). Learning Loss ภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอย. เข้าถึงได้จาก https://research.eef.or.th/learning-loss-recession

สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: นิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ash, R. C., and Persall, M. (2007). The principle as Chief Leaning Officer: The New Work of Formative Leadership. Birmingham: Stamford University Birmingham.

Keeves, P. J. (1988). Model and Model Building Education Research, Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pegamon Press.